Page 6 - บทท2 60-1_Neat
P. 6
การป้องกัน
การป้องกันการเกิดความพิการแต่ก าเนิดสามารถแบ่งได้เป็นหลายระยะ ได้แก่ ระยะก่อนตั้งครรภ์
ระหว่างตั้งครรภ์ การเตรียมความพร้อมก่อนคลอด โดยส่วนใหญ่เป็นการป้องกันจากสาเหตุปัจจัยภายนอก
ที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ เช่น การให้ค าแนะน าในการฝากครรภ์ การให้ความรู้กับมารดาในการ
หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ส าคัญตลอดจนการให้ข้อมูลถึงความจ าเป็นของการได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
ตลอดการตั้งครรภ์ ส่วนการป้องกันในสาเหตุจากปัจจัยด้านกรรมพันธุ์จะพิจารณาให้ค าปรึกษาทาง
พันธุกรรมแก่คู่สมรสเพื่อให้มีความเข้าใจและเลือกวิธีการในการลดความเสี่ยงของอุบัติการณ์การเกิด
ความพิการแต่ก าเนิด
ความผิดปกติทางคลินิกที่พบบ่อย
ความผิดปกติของท่อประสาท (Neural tube defect)
ความผิดปกติของท่อประสาทเป็นความผิดปกติแต่ก าเนิดที่ท าให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์หรือ
อาจเสียชีวิตภายหลังจากที่คลอดได้ไม่นาน ส่วนทารกที่รอดชีวิตอาจท าให้เกิดภาวะทุพพลภาพทางระบบ
ประสาทร่วมกับความวิกลรูปของแขนขาและกระดูกสันหลังได้ ภาวะนี้ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของ
การปิดของท่อประสาทซึ่งโดยปกติจะมีการม้วนตัวและปิดอย่างสมบูรณ์ภายใน 28 วันภายหลังจากมีการ
ปฏิสนธิ
ปัจจัยและปัจจัยเสี่ยงที่ท าให้เกิดความผิดปกติของท่อประสาท ได้แก่ ความผิดปกติทางโครโมโซม
ชนิด single gene mutation มารดามีโรคประจ าตัวที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวาน หรือการได้รับ
สารเคมีหรือยาบางชนิดที่ก่อให้เกิดความวิกลรูปของทารกในครรภ์ (teratogenic agents) ซึ่งการได้รับสาร
ดังกล่าวขึ้นอยู่กับชนิดและระยะเวลาที่สัมผัสสารนั้นๆ ที่พบบ่อยทางคลินิกได้แก่ ยากันชักที่มีชื่อว่า Valproic
acid เป็นต้น
อุบัติการณ์ของการเกิดความผิดปกติของการปิดท่อประสาทพบว่ามีความแตกต่างกันตามเชื้อชาติ
ที่อาจมีผลต่อความแตกต่างทางด้านกรรมพันธุ์ มีรายงานการศึกษาพบว่าการให้โภชนาการเสริมด้วย
กรดโฟลิก ที่เพียงพอไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของยาหรืออาหารที่มีส่วนประกอบของกรดโฟลิกพบว่าท าให้
อุบัติการณ์ของการเกิดความผิดปกติของท่อประสาทลดน้อยลง จนเป็นข้อแนะน าในการให้กรดโฟลิกใน
สตรีที่วางแผนการตั้งครรภ์
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560