Page 14 - Basic Thai Typing
P. 14
20. ที่จับบัตร (Card Holder) (หมายเลข 20) ใช้ประโยชน์เมื่อต้องการพิมพ์กระดาษ
แผ่นเล็ก ๆ เช่น การ์ด ไปรษณียบัตร บัตรอวยพร ฯลฯ จะช่วยบังคับกระดาษที่ป้อนเข้าไป ใน
ตัวเครื่องให้ไหลขึ้นตามลูกยาง เพื่อไม่ให้หลุดออกจากตัวเครื่อง
21. ฝาครอบเครื่อง (Top Cover) ใช้ป้องกันฝุ่นละอองหรือเศษผงที่จะตกลงไปในเครื่อง
รวมทั้งป้องกันก้านอักษรและตัวพิมพ์ดีดไม่ให้อุดตันจากเศษยางลบหรือฝุ่นละออง เมื่อต้องการ
เปลี่ยนผ้าหมึกพิมพ์ ทำความสะอาด หรือซ่อมเครื่องพิมพ์ก็สามารถเปิดฝาครอบเครื่องออกได้
การสร้างเทคนิคที่ดีในการพิมพ์สัมผัส
การฝึกทักษะการพิมพ์ให้แก่ผู้เรียนนั้น ตามหลักการสอนพิมพ์ดีดเพื่อให้เหมาะสม และง่าย
ต่อการเรียนรู้คือ การสอนจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก และต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ ของการก้าว
นิ้วไปยังแป้นอักษรอื่น เพื่อให้ง่ายต่อการจำแป้นอักษร โดยยึดแป้นเหย้าเป็น หลักในการก้าวนิ้ว
สำหรับวิชาพิมพ์ดีดไทยนี้ได้เน้นการจัดบทเรียนจากง่ายไปหายาก และ ได้จัดลำดับการขึ้นแป้น
อักษรใหม่เป็นแบบแนวตั้ง และเรียงจากสระไปหาตัวอักษรในการขึ้น แป้นอักษรบนแบบแนวตั้ง
นั้นจะเน้นนิ้วชี้เป็นหลัก เพราะนิ้วชี้เป็นนิ้วที่แข็งแรงสามารถพิมพ์ ได้ถนัดและคล่องกว่านิ้วอื่น ซึ่ง
จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าพิมพ์ได้ง่าย เป็นการสร้างขวัญและ กำลังใจให้ผู้เรียนมีความมั่นใจและมี
ความพยายามที่จะใช้นิ้วอื่นพิมพ์ได้ต่อไป โดยเรียงลำดับ จากนิ้วชี้ไปจนถึงนิ้วก้อย ซึ่งการฝึกพิมพ์
แป้นอักษรจากการเรียนพิมพ์ดีดนี้จะเป็นพื้นฐานที่ดี ของผู้ที่จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมี
ประสิทธิภาพและสามารถทำให้การพิมพ์สัมผัสในการ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์งานได้รวดเร็ว
ถูกต้องแม่นยำดียิ่งขึ้น
สำหรับการขึ้นแป้นอักษรใหม่ในแต่ละบทเรียน เป็นการมุ่งเน้นที่จะฝึกทักษะในการ เคาะ
แป้นอักษรที่แม่นยำ ถูกวิธีและเป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอ ปัดแคร่ได้ถูกต้องและรวดเร็ว การฝึก
พิมพ์แป้นอักษรเน้นการพิมพ์เป็นจังหวะ 3 จังหวะ โดยผู้สอนขานนำออกเสียงตาม ตัวอักษรแต่ละ
ตัว และผู้เรียนออกเสียงตามและเคาะแป้นอักษรนั้นไปพร้อม ๆ กับการขาน ออกเสียงด้วย เมื่อ
ต้องการฝึกพิมพ์แป้นอักษร ผู้เรียนจะต้องวางนิ้วพร้อมไว้ที่แป้นเหย้า ทุกครั้งก่อนที่จะก้าวนิ้วไป
แป้นอื่น เพื่อจะได้จำแป้นเหย้าได้แม่นยำ วิธีออกเสียงให้ออกเสียง ว่า ดอ ดอ ดอ วรรค หรือ เด็ก
เด็ก เด็ก วรรค หรือ เด็ก อา เด็ก วรรค เป็นต้น
หน้าที่ 10