Page 15 - Basic Thai Typing
P. 15
การฝึกพิมพ์แป้นอักษร ในการเคาะแป้นอักษรแต่ละแป้นนั้นให้ออกเสียงไปพร้อมกับ การเคาะ
แป้นอักษรเป็นจังหวะที่เฉียบคม เด็ดขาดและรวดเร็วด้วยปลายนิ้วจิกหุ้มตรง ๆ บน แป้นอักษร
อย่าใช้หน้านิ้วพิมพ์ เมื่อเคาะแป้นอักษรแล้วให้ดึงนิ้วกลับไปวางไว้ที่แป้นเหย้า ทันทีทุกนิ้วดังเดิม
โดยขานนำอักษรแป้นเหย้าก่อนแล้วจึงขึ้นแป้นอักษรใหม่ ทั้งผู้สอนและ ผู้เรียนจะออกเสียงพร้อม
กัน โดยผู้สอนอาจจะเคาะจังหวะไปพร้อม ๆ กัน ส่วนผู้เรียนเคาะแป้น อักษรตามที่ออกเสียง ให้
ออกเสียงดังพร้อมกันทั้งห้อง การฝึกพิมพ์โดยออกเสียงไปพร้อมกัน จะสามารถทำให้ผู้เรียนพิมพ์
ได้ถูกต้องและจำแป้นได้แม่นยำ ทั้งยังเป็นการสร้างบรรยากาศในการเรียนให้มีความสนุกสนาน
และตื่นตัวอยู่เสมอในการฝึกพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าผู้สอนได้เคาะจังหวะพร้อมออกเสียงไป
พร้อม ๆ กันด้วย จะช่วยให้ผู้เรียนเพิ่มความสนใจ และตั้งใจพิมพ์มากขึ้น
การฝึกพิมพ์ในระยะเริ่มแรก ผู้เรียนจะต้องสนใจและเอาใจใส่ในคำตักเตือนและคำสอน จากผู้สอน
ให้มากเกี่ยวกับท่านั่งพิมพ์ที่ถูกต้อง การวางมือ การก้าวนิ้ว การเคาะคานเว้นวรรค และการวาง
แบบพิมพ์ ที่สำคัญคือ สายตาของผู้เรียนจะต้องอยู่ที่แบบพิมพ์ไม่มองแป้นอักษร ในเครื่องพิมพ์
การฝึกพิมพ์ที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการดีดแป้นอักษรที่ถูกต้องจะเป็นผลให้ การฝึกพิมพ์แป้นอักษรมี
คุณภาพและแม่นยำมากยิ่งขึ้นเป็นพื้นฐานของการพิมพ์คอมพิวเตอร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
ยิ่งขึ้น
1. การเตรียมตัวในการพิมพ์แบบสัมผัส
เพื่อเป็นการสร้างเทคนิคที่ดีในการพิมพ์สัมผัส ผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้ขั้นตอนต่าง ๆ ในการ
ใช้เครื่องพิมพ์ดีดดังนี้
1.1 การพับผ้าคลุมเครื่อง
ก่อนที่จะเริ่มต้นใช้เครื่องพิมพ์ สิ่งแรกที่ผู้เรียนจะต้องฝึกสร้างนิสัยความมีระเบียบ
วินัยในการใช้เครื่อง คือ การพับผ้าคลุมเครื่องพิมพ์ ดังนั้นผู้เรียนควรจะได้ศึกษาวิธีการพับ
ผ้าคลุมเครื่องดังนี้
- จับมุมผ้าคลุมเครื่องด้านบนด้วยมือซ้ายและมือขวาพร้อมกัน
- ดึงผ้าคลุมขึ้นจากเครื่องพิมพ์ให้มุมที่จับผ้าอยู่ด้านในทั้งสองข้าง และวางผ้า ลงบนพื้นโต๊ะ
พิมพ์ดีด
หน้าที่ 11