Page 7 - Basic Thai Typing
P. 7
สั่งซื้อเครื่องพิมพ์ดีดไทยจำนวนมาก ท่านจึงได้ติต่อโรงงานสมิทพรีเมียร์ในสหรัฐอเมริกาผลิต
เครื่องพิมพ์ดีดไทยยี่ห้อสมิทพรีเมียร์เข้ามาในประเทศไทย พ.ศ. 2440 ต่อมาโรงงานผลิตเครื่อง
พิมพ์ดีดเลิกกิจการและไปรวมกิจการกับบริษัท เรมิงตัน เครื่องพิมพ์ดียี่ห้อสมิทพรีเมียร์เป็นเครื่อง
พิมพ์ดีดแคร่ตายไม่สามารถพิมพ์สัมผัสได้ บริษัท เรมิงตันจึงได้สั่งเลิกผลิตและได้ผลิตเครื่องพิมพ์
ดีดแบบยกแคร่หรือยกกระจาดเข้ามาจำหน่ายแทนแต่ไม่ได้รับความนิยม ใน พ.ศ. 2456 จนทำให้
บริษัท เรมิงตันสามารถผลิตเครื่องพิมพ์ดีดชนิดกระเป๋าหิ้วรูปร่างเล็กกะทัดรัดและมารถพิมพ์สัมผัส
10 นิ้วได้ ออกจำหน่อยในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2469
เครื่องพิมพ์ดีดไทยในสมัยนั้นยังมีข้อบกพร่องอยู่ไม่สะดวกในการพิมพ์ผสมสระใน พ.ศ.
2467 พระอาจวิททยาคมจึงได้ร่วมปรึกษาค้นคว้ากับพนักงานของบริษัท 2 คน คือ นายสวัสดิ์
มากประยูร และนายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี โดยนายสวัสดิ์เป็นวิศวกรออกแบบประดิษฐ์
ตัวอักษร และนายสุวรรณประเสริฐออกแบบวางแป้นอักษร ใช้เวลา 7 ปี ออกแบบวางแป้นใหม่
สำเร็จ สามารถพิมพ์ได้ถนัดและรวดเร็วที่สุด ใน พ.ศ. 2474 โดยใช้ชื่อว่าแบบ “เกษมณี” ต่อมาได้
มีผุ้วิจังแบบเกษมณ์ว่ามีข้อบกพร่อง จึงคิดว่างแป้นอักษรใหม่ใช้ชื่อว่า “ปัตตะโชติ” สภาวิจัยได้
ตรวจสอบแล้วยอมรับว่าเครื่องพิมพ์ปัตตะโชติสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแบบเดิม 25.8% ในระหว่าง
พ.ศ. 2508 – 2516 ทำให้ผู้ใช้เครื่องพิมพ์ดีดสับสนว่าแบบใดเหมาะสำหรับการพิมพ์ดีด ต่อมา
คณะรัฐมนตรีมีมติให้งานราชการที่ได้รับงบประมาณจัดซื้อเครื่องพิมพ์ดีดไทยแบบปัตตะโชติ ทำให้
หน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจ บริษัทห้างร้านต้องส่งพนักงานพิมพ์ดีดไปเข้ารับการฝึกอบรมการใช้
เครื่องพิมพ์ดีดแบบปัตตะโชติ แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่างจะต้องใช้เวลาเป็นเครื่อง
พิสูจน์และไม่อาจเปลี่ยนคามมเชื่อเดิมขของผุ้ใช้เครื่องพิมพ์ดีดแบบเกษมณ๊ได้ในระยะเวลาอันสั้น
ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้นหลังวันที่ 16 ตุลาคม 2516 ทำให้นโยบายดัง
กล่างถูกยกเลิกโดยมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงใช้เครื่องพิมพ์ดีดแบบเกษมณ๊และ
พัฒนาเป็นเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าและแป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือคีย์บอร์ดของเครื่อง
คอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบันนี้
หน้าที่ 3