Page 125 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 125
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
ภาพที่ 4.2-7 ลักษณะการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของโรงงานอุตสาหกรรมย้อนหลัง 5 ปี ของภาคตะวันตก
จากผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการกระจายตัวเชิงพื้นที่ระดับภาคย้อนหลัง 5 ปีนั้นยังคงเป็นไปในทิศทาง
เดียวกัน กล่าวคือเป็นการกระจายตัวเชิงพื้นที่แบบกระจุกตัวหรือเป็นกลุ่มก้อน (clustered distribution) เช่นเดิม
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีการตั้งโรงงานตามหัวเมืองที่คล้ายคลึงกัน และยังมีแนวโน้มการกระจุกตัวของโรงงาน
อุตสาหกรรมที่จะหนาแน่นมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีปัจจัยที่เอื้อแก่การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างครบครัน
เช่น โครงสร้างพื้นฐาน การรวมกลุ่มกันของโรงงานประเภทเดียวกันท าให้สามารถพึ่งพากันได้ สาธารณูปโภค และ
สาธารณูปการ ซึ่งจะแตกต่างจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการตั้งโรงงานตามแนวโครงข่ายการคมนาคมถนน
มากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีความต้องการตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้เคียงกับแหล่งวัตถุดิบ และโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทไม่
มีความจ าเป็นต้องอยู่บริเวณใกล้พื้นที่เขตเมืองมากนัก เพียงแค่อยู่ในขอบเขตที่มีสิ่งอ านวยความสะดวกที่เหมาะสม
แก่การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น
4.2.8 การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกระจายตัวของอุตสาหกรรมของกรุงเทพมหานครฯย้อนหลัง 5 ปี
ผลการศึกษา พบว่า ภายในพื้นที่ศึกษามีจ านวนโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 12,320 แห่ง ซึ่งใน
ปัจจุบันมี 13,696 แห่ง โดยมีการเพิ่มขึ้นมากถึง 1,649 แห่ง หรือร้อยละ 12.06 ภายในระยะเวลา 5 ปี โดยการที่
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 4 - 29