Page 30 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 30

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม


                  1.4 ควำมเข้ำใจในโครงกำร

                         ส านักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาท

                  ส าคัญในการเป็นองค์กรหลักที่จะชี้น าการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไปสู่ความยั่งยืน ภายใต้พันธกิจส าคัญ

                  หลายประการ อาทิเช่น การบูรณาการ การผลักดันนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่การ
                  เติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงการจัดท า เชื่อมโยง และให้บริการข้อมูล การชี้น าและการเตือนภัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

                  และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เป็นต้นมา สศอ. ได้ด าเนินโครงการเพื่อสนับสนุน
                  การด าเนินงานตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่องจ านวนมาก เช่น โครงการศึกษาและก าหนด

                  พื้นที่อุตสาหกรรม (ZONING) เพื่อรองรับการลงทุนของอุตสาหกรรมเป้าหมายในภูมิภาค โครงการเตรียมความ
                  พร้อมภาคอุตสาหกรรมไทยเพื่อรองรับการเชื่อมโยงในภูมิภาคด้วยเศรษฐกิจดิจิตอล โครงการเพิ่มขีดความสามารถ

                  ภาคอุตสาหกรรมภายใต้นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย เป็นต้น

                         ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บ จัดการ วิเคราะห์ และ

                  แสดงผลข้อมูลทั้งในรูปแบบของแผนที่และฐานข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยในปัจจุบัน พบว่า มีหลาย

                  หน่วยงานและหลายองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน เร่งพัฒนาการใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการ
                  ด าเนินงานขององค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการให้บริการกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมที่ดิน

                  กรมธนารักษ์ กรมป่าไม้ ส านักงานขนส่ง ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นต้น จากเหตุผลดังกล่าว สศอ. จึงเห็น

                  ถึงความส าคัญในการที่หน่วยงานจ าเป็นต้องพัฒนาระบบ GIS  เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ให้บริการข้อมูลเชิงพื้นที่แก่
                  บุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรม ตลอดจนนักลงทุน ประชาชนผู้สนใจทั่วไปสามารถเรียกใช้งาน สืบค้นข้อมูล

                  และแสดงต าแหน่งบนแผนที่ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงสามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อสนับสนุนการ

                  ตัดสินใจ และใช้ประกอบการก าหนดนโยบายและการวางแผนส าหรับผู้บริหารได้ โดย สศอ. จะพัฒนาระบบ
                  สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พร้อมทั้ง จัดหาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ใหม่ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการก าหนด

                  นโยบาย วางแผน และน าไปสู่มาตรการต่างๆ ที่จะใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหา ให้การพัฒนาอุตสาหกรรม
                  ระดับประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ

                  ให้มากขึ้น

                         ภายใต้โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมของ สศอ.

                  ครั้งนี้ จ าเป็นจะต้องศึกษานโยบาย ยุทธศาสตร์และโครงการพัฒนาที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการเพิ่มศักยภาพใน

                  การแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ที่อาจท าให้เกิดการเคลื่อนย้าย การเปลี่ยนแปลง และการเพิ่มฐานการผลิต ตาม
                  นโยบายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 จาก 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย กลไกขับเคลื่อน

                  เศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S - Curve)
                  ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี

                  และการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และ




                  ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                              หน้า 1 - 2
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35