Page 31 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 31

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม


                  5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S - Curve) ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์

                  อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร เพื่อใช้ในการ
                  ก าหนดปัจจัยในการศึกษา โดยการศึกษานโยบายด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระดับประเทศ ระดับภูมิภาค กลุ่ม

                  จังหวัด ประกอบด้วยนโยบายและกรอบการพัฒนาพื้นที่ ที่ส าคัญ 4 ส่วน ได้แก่


                         1)  การศึกษานโยบายการพัฒนาพื้นที่ระดับประเทศ ประกอบด้วยการศึกษาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

                  สังคมแห่งชาติ เพื่อให้เห็นถึงปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และ
                  การศึกษานโยบายการพัฒนาพื้นที่ในอนาคตจากผังประเทศ พ.ศ.2600

                         2)  การศึกษาการพัฒนาพื้นที่ด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในระดับภาค คือ การศึกษาแนวทางการพัฒนา
                  พื้นที่จากผังภาคกรุงเทพและปริมณฑล พ.ศ.2600

                         3)  การศึกษาการพัฒนาพื้นที่ด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระดับกลุ่มจังหวัด เป็นการศึกษานโยบายการ
                  พัฒนาระดับอนุภาค

                         4)  การศึกษาการพัฒนาพื้นที่ด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระดับจังหวัด เป็นการศึกษากรอบการพัฒนาตาม

                  แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของจังหวัดดังกล่าว


                  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาพื้นที่ด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในหลายๆ ด้าน ได้แก่

                         1)  ทิศทางและรูปแบบของการพัฒนาเมืองด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในแต่ละพื้นที่
                         2)  การใช้ประโยชน์ที่ดิน

                         3)  วิถีการด าเนินชีวิตของประชาชนท้องถิ่น

                         4)  ปัญหาด้านทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม
                         5)  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของพื้นที่


                  1.5 ขอบเขตกำรศึกษำ


                         โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมของ สศอ. ครั้งนี้
                  ประกอบไปด้วยขอบเขตทั้งหมด 5 ด้าน คือ


                         1.5.1 ขอบเขตเชิงเนื้อหา: โครงการนี้มีขอบเขตเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการ
                  วิเคราะห์ศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจวางแผนก าหนดยุทธศาสตร์

                  ของอุตสาหกรรมศักยภาพเชิงพื้นที่ของส านักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมให้มีศักยภาพด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

                  ที่ทันสมัย

                         1.5.2 ของเขตเชิงระยะเวลา: ภายในระยะเวลา 9 เดือนนับจากการลงนามในสัญญาฯ





                  ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                              หน้า 1 - 3
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36