Page 97 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 97
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
บทที่ 4
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกระจายตัวของอุตสาหกรรม
ย้อนหลัง 5 ปี และ 10 ปี
จากผลการศึกษาการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกระจายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศ
ไทย จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ รูปแบบการกระจายตัวของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบ
การกระจายตัวของอุตสาหกรรมย้อนหลัง 5 ปี และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกระจายตัวของอุตสาหกรรม
ย้อนหลัง 10 ปี
4.1 รูปแบบการกระจายตัวของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
จากผลการศึกษา พบว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีแบบรูปการกระจายเชิงพื้นที่ที่มีลักษณะเหมือนกัน
กล่าวคือ มีการกระจายเชิงพื้นที่แบบกระจุกตัวหรือเป็นกลุ่มก้อน (clustered distribution)
4.1.1 รูปแบบการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของประเทศไทย
ผลการศึกษา พบว่า ภายในพื้นที่ของประเทศไทยมีจ านวนโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 92,132
แห่ง โดยมีการกระจายเชิงพื้นที่แบบกระจุกตัวหรือเป็นกลุ่มก้อน (clustered distribution) โดยนิยมตั้งบริเวณ
เมืองหลวงหรือศูนย์กลางของประเทศ และยังมีการกระจุกตัวอยู่ตามหัวเมืองหลักของแต่ละภาค เช่น ภาค
ตะวันออกที่มีการกระจุกตัวอยู่ที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พบมากได้ที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดอุดรธานี ภาคเหนือพบมากใน
จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดล าปาง และจังหวัดแพร่ ภาคใต้พบมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี
และจังหวัดสงขลา ส่วนภาคตะวันตกพบมากได้ที่ จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดราชบุรี อันเนื่องมาจากใกล้แหล่ง
ตลาดและมีสิ่งอ านวยความสะดวกให้แก่โรงงานค่อนข้างมาก เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ถนน สาธารณูปโภค
สาธารณูปการ และยังเป็นแหล่งที่มีการรวมกลุ่มกันของโรงงานประเภทต่างๆ ที่อาจมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
และยังเป็นพื้นที่ที่ภาครัฐให้การสนับสนุนทั้งในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและแรงงาน นอกจากนี้ยังพบได้ตามแนว
ถนนสายหลักที่เข้ามายังเมืองหลวง และตามหัวเมืองหลักอีกด้วย ดังภาพ
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 4 - 1