Page 99 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 99
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
4.1.2 รูปแบบการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของภาคกลาง
ผลการศึกษา พบว่า ภายในพื้นที่ของภาคกลางมีจ านวนโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 48,276 แห่ง
ถือว่ามีจ านวนโรงงานอุตสาหกรรมที่จ านวนมากที่สุดในประเทศ โดยมีการกระจายเชิงพื้นที่แบบกระจุกตัวหรือเป็น
กลุ่มก้อน (clustered distribution) โดยจะมีการกระจุกตัวอยู่บริเวณกรุงเทพมหานครฯ ที่เป็นเมืองหลวงของ
ประเทศไทย อันเนื่องมาจากเป็นแหล่งเศรษฐกิจของประเทศ ที่มีการซื้อขาย ทั้งยังสามารถติดต่อกับผู้บริโภคได้
อย่างสะดวก และมีสาธารณูปโภค-สาธารณูปการที่ครบครัน เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ถนน เป็นต้น ทั้งยังใกล้เคียงกับ
สถาบันศึกษาที่เป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่หลากหลายท าให้มีตัวเลือกในการจัดสรรแรงงานได้อย่างเหมาะสม และยัง
เป็นพื้นที่ที่ภาครัฐให้การสนับสนุนเป็นส าคัญ รวมทั้งข้อก าหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและผังเมืองที่เอื้ออ านวยต่อ
การจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีแหล่งโรงงานอุตสาหกรรมที่ส าคัญและมีจ านวนมาก เช่น
จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัด
นนทบุรี เป็นต้น ดังภาพ
ภาพที่ 4.1-3 ลักษณะการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของโรงงานอุตสาหกรรมในภาคกลาง
โดยมีค่า z - score มีค่าเท่ากับ -374.041465 ซึ่งสามารถบ่งบอกได้ว่าโรงงานอุตสาหกรรมของภาคกลาง
ตกอยู่ในช่วงการกระจายตัวเชิงพื้นที่แบบกระจุกตัวหรือเป็นกลุ่มก้อน (clustered distribution) ดังภาพ
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 4 - 3