Page 199 - การเงินเพื่อชีวิต 3 สค32029
P. 199
190
พร้อมและเพียงพอต่อรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน และหากพบว่ารายรับ
ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ก็สามารถวางแผนลดรายจ่ายหรือหารายได้เพิ่มได้
3) ท าให้เห็นสัญญาณของปัญหาทางการเงินและสามารถวางแผนแก้ไขได้ การ
บันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นประจ า จะท าให้ทราบทันทีหากมีสัญญาณของปัญหา
การเงิน เช่น มีรายจ่ายเกินรายรับติดต่อกันหลายเดือนจนต้องก่อหนี้
(เงินไม่พอใช้อยู่แล้ว พอก่อหนี้เพิ่มก็ไม่มีเงินจ่ายหนี้) ต้องจ่ายหนี้มากกว่า
1 ใน 3 ของรายรับ (อาจท าให้ไม่มีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายอื่น ๆ จนต้องก่อหนี้เพิ่ม
หนี้ก็มีมากอยู่แล้ว ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นจนเงินไม่พอจ่าย) ไม่มีเงินออมเลย (เมื่อมี
ความจ าเป็นต้องใช้เงินก้อน ก็ต้องก่อหนี้) และเมื่อทราบสัญญาณของปัญหา ก็
จะสามารถวางแผนแก้ไขก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่โต
5. จากกรณีศึกษาและตามหลักการจัดล าดับความส าคัญของรายจ่าย นายประชาควร
ท าอย่างไรกับค่าใช้จ่ายของเขาต่อไปนี้
ตอบ
1) ค่ารักษาพยาบาลของพ่อ ให้จ่ายก่อน
2) ค่าเรียนภาษาอังกฤษ ให้ออมเงินก่อนแล้วค่อยจ่าย
3) ค่าแต่งรถ ให้พยายามตัดใจ แต่หากตัดใจไม่ได้ ก็ให้ออมเงินเพื่อแต่งรถ
กิจกรรมที่ 3.2 ให้จัดท าบันทึกรายรับ-รายจ่ายตามขั้นตอนการจัดท าบันทึกรายรับ-จ่ายเป็น
ระยะเวลา 1 เดือน แล้ววิเคราะห์ดังนี้
1. สรุปรายรับ-รายจ่าย
ตอบ หากผลลัพธ์ที่ได้เป็นบวก แสดงว่ามีการใช้จ่ายน้อยกว่ารายรับที่มีอยู่ จึงมีเงินเหลือ
ตามจ านวนที่ค านวณได้ และเมื่อเงินเหลือ ก็ควรวางแผนจัดสรรว่าจะน าเงินนั้นไปท า
อะไร เช่น น าไปเป็นเงินออมเผื่อฉุกเฉิน เงินออมเพื่อซื้อของที่อยากได้ หรือเงินออมเพื่อ
เกษียณ
หากผลลัพธ์ติดลบ แสดงว่ามีการใช้เงินเกินรายรับที่มีอยู่ตามจ านวนที่ติดลบ จึงต้องหา
สาเหตุของการใช้เงินเกิน เช่น อาจมีค่าใช้จ่ายเยอะเกินไป ดังนั้น จะต้องวางแผนลด
รายจ่าย โดยเริ่มพิจารณาจาก “รายจ่ายไม่จ าเป็น” ว่ามีรายการใดที่สามารถลดได้ หรือ
พิจารณาจาก “รายจ่ายจ าเป็น” ว่ามีรายจ่ายที่ไม่จ าเป็นแอบแฝงอยู่หรือไม่
เฉลย/แนวตอบกิจกรรมท้ายเรื่อง ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 l ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย