Page 23 - การเงินเพื่อชีวิต 3 สค32029
P. 23
14
10 บาท 5 บาท 2 บาท 1 บาท 50 สตางค์ 25 สตางค์ ส่วนเหรียญชนิดราคา 10 สตางค์
5 สตางค์ และ 1 สตางค์ มีใช้ในทางบัญชีเท่านั้น
ในปี พ.ศ. 2551 กระทรวงการคลังได้อนุมัติให้กรมธนารักษ์ จัดท าเหรียญ
กษาปณ์ออกใช้หมุนเวียนชุดใหม่ในระบบเศรษฐกิจ โดยมีลักษณะและชนิดราคา ดังนี้
1. เหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ชนิดราคา 10 บาท
2. เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล เคลือบไส้ทองแดง)
ชนิดราคา 5 บาท
3. เหรียญกษาปณ์โลหะสีทอง (ทองแดงผสมนิกเกิลและอลูมิเนียม) ชนิดราคา
2 บาท
4. เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ไส้เหล็กชุบนิกเกิล) ชนิดราคา 1 บาท
5. เหรียญกษาปณ์โลหะสีแดง (ไส้เหล็กชุบทองแดง) ชนิดราคา 50 สตางค์
6. เหรียญกษาปณ์โลหะสีแดง (ไส้เหล็กชุบทองแดง) ชนิดราคา 25 สตางค์
7. เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (อลูมิเนียม) ชนิดราคา 10 สตางค์ 5 สตางค์
1 สตางค์
เหรียญกษาปณ์กับการใช้ช าระหนี้ตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 มาตรา 11 ระบุว่า เหรียญกษาปณ์เป็นเงิน
ที่ช าระหนี้ได้ตามกฎหมาย ไม่เกินจ านวนที่ก าหนดโดยกฎกระทรวง ดังนี้
ชนิดราคา จ านวนการช าระหนี้ต่อครั้ง
เหรียญชนิดราคา 1 สตางค์ ช าระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 5 บาท
เหรียญชนิดราคา 5, 10, 25 และ 50 สตางค์ ช าระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 10 บาท
เหรียญชนิดราคา 1, 2 และ 5 บาท ช าระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 500 บาท
เหรียญชนิดราคา 10 บาท ช าระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท
สาเหตุที่กฎหมายต้องก าหนดจ านวนเงินในการช าระหนี้ของเหรียญกษาปณ์ คือ
เพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ในการช าระหนี้
ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 | หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของเงิน