Page 27 - การเงินเพื่อชีวิต 3 สค32029
P. 27
18
- บุคคลรับอนุญาต (authorized money changer) หมายถึง นิติบุคคล
ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจซื้อและขายธนบัตรต่างประเทศ และรับซื้อเช็คเดินทาง
เช่น ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม หรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตรา
ต่างประเทศ
เงินเสมือน
เงินเสมือน (virtual currency) ถูกสร้างขึ้นโดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง และยอมรับให้
ใช้งานกันภายในกลุ่มสังคมนั้น โดยมีการก าหนดมูลค่าของเงินเสมือนเป็นหน่วยข้อมูลทาง
อิเล็กทรอนิกส์ เช่น coin, point เพื่อน ามาใช้ซื้อสินค้าและบริการในกลุ่มที่ยอมรับเงินเสมือน
ดังกล่าว
3
เงินเสมือน อาจแบ่งตามคุณสมบัติการใช้งานได้ดังนี้
1. เงินเสมือนที่ไม่สามารถใช้ซื้อสินค้าจริงได้และแลกเป็นเงินจริงไม่ได้ โดย
รับมาจากโลกออนไลน์ด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นเกมออนไลน์แล้วได้รับแต้มหรือเงิน
เสมือน แต่จะสามารถใช้ได้แค่ในโลกออนไลน์เท่านั้น
2. ใช้เงินจริงแลกเปลี่ยนเป็นเงินเสมือน แต่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนกลับมาเป็น
เงินจริงได้ สามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการออนไลน์หรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้
3. สามารถใช้เงินจริงแลกเปลี่ยนกับเงินเสมือนได้ทั้งสองทาง โดยสามารถใช้ซื้อ
ของได้ทั้งในโลกออนไลน์และโลกจริง เช่น Bitcoin
ข้อควรระวังเกี่ยวกับเงินเสมือน
1. หน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นี้ ไม่ถือเป็นเงินที่ใช้ช าระหนี้ได้ตาม
กฎหมายไทย การใช้หน่วยข้อมูลดังกล่าวในการช าระค่าสินค้าหรือบริการ จึงอาจถูกปฏิเสธจาก
ร้านค้าได้
2. มีความเสี่ยงจากการที่มูลค่าหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผันแปรอย่าง
รวดเร็ว เนื่องจากมูลค่าของหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เกิดจากความต้องการแลกเปลี่ยนในกลุ่ม
ของผู้ใช้ด้วยกัน มูลค่าจึงมีความผันผวนสูงและไม่สัมพันธ์กับสภาพเศรษฐกิจจริง ผู้ถือครอง
หน่วยข้อมูลจึงมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินจากการที่มูลค่าของหน่วยข้อมูลลดต่ าลงอย่างรวดเร็ว
และหากร้านค้าใดรับหน่วยข้อมูลดังกล่าว เพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการของตน ก็อาจมี
3
ที่มา : บทความเรื่อง “เงินเสมือน (Virtual Currency) ต่างจากเงินจริงอย่างไร” โดย กัณตภณ ศรีชาติ ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย
ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 | หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของเงิน