Page 41 - การเงินเพื่อชีวิต 3 สค32029
P. 41
32
ถูกปิดกิจการ ส าหรับเงินฝากส่วนที่เกินวงเงินดังกล่าว ผู้ฝากมีโอกาสได้รับเพิ่มเติมหลังจากการ
ขายสินทรัพย์และช าระบัญชีสถาบันการเงินนั้นแล้ว
การคุ้มครองเงินฝากในประเทศไทย
ในอดีตหากสถาบันการเงินถูกปิดกิจการ ผู้ฝากเงินจะต้องไปด าเนินการฟ้องร้อง
เพื่อให้ได้รับเงินฝากคืนเอง ซึ่งไม่มีความแน่นอนว่าจะได้รับเงินคืนหรือไม่ จะได้รับเงินคืนเมื่อใด
และจ านวนเท่าใด ดังนั้น ภาครัฐจึงได้จัดให้มีระบบคุ้มครองเงินฝากขึ้น เพื่อช่วยเหลือประชาชน
ผู้ฝากเงินให้ได้รับเงินฝากคืนภายในเวลาที่รวดเร็วหากสถาบันการเงินถูกปิดกิจการ ซึ่งการมีระบบ
คุ้มครองเงินฝากจะไม่ก่อให้เกิดภาระกับภาครัฐ เนื่องจากมีการเรียกเก็บเงินน าส่งจากสถาบัน
การเงินต่าง ๆ สะสมไว้ใช้ในการจ่ายคืนเงินให้กับประชาชนผู้ฝากเงิน ซึ่งด าเนินการโดยสถาบัน
คุ้มครองเงินฝาก (Deposit Protection Agency: DPA)
สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เป็นหน่วยงานของรัฐ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2551
เพื่อคุ้มครองประชาชนผู้ฝากเงิน โดยมีหน้าที่หลัก คือ
1. จ่ายเงินคืนผู้ฝากภายในวงเงินและระยะเวลาที่กฎหมายก าหนด ในกรณี
ที่สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองถูกปิดกิจการ
2. ช าระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ เพื่อรวบรวมเงินจากการขาย
สินทรัพย์มาช าระคืนให้แก่เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินนั้น รวมถึงเงินฝากส่วนที่เกินวงเงิน
คุ้มครองด้วย
คุ้มครองอะไรบ้าง
เงินบาทที่ฝากไว้กับสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การคุ้มครอง (ธนาคารพาณิชย์
บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) แต่ไม่ครอบคลุมถึงเงินที่ฝากไว้กับสถาบันการเงิน
เฉพาะกิจของรัฐ เนื่องจากมีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ สถาบันการเงินทั้งหมดอยู่ภายใต้การ
ก ากับดูแลของกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะก ากับดูแลความมั่นคง
อย่างใกล้ชิด และจะป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นมิให้ต้องปิดกิจการโดยง่าย
ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 | หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของเงิน