Page 155 - 012สังคมศึกษา-สค21001
P. 155

147


               เรื่องที่ 1 การเมืองการปกครองที่ใชอยูในปจจุบันของประเทศไทย


                       ประเทศไทยไดยึดหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยเปนประมุข
               มีรัฐธรรมนูญการปกครองแผนดินมาตั้งแตพุทธศักราช  2475  จนถึงรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย

               พุทธศักราช 2550 เปนแนวทางสําคัญตลอดมา
                       1.1  การปกครองในระบอบประชาธิปไตย

                          การปกครองในระบอบประชาธิปไตย หมายถึง การปกครองที่ประชาชนมีอํานาจสูงสุดหรือแบง

               การปกครองของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชน  อันมีพระมหากษัตริยเปนประมุขและทรงอยู
               ใตรัฐธรรมนูญ

                       หลักการสําคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

                          เปาหมายของการปกครองระบอบประชาธิปไตยเพื่อจัดระเบียบการอยูรวมกันของผูคนใน
               ลักษณะที่เอื้ออํานวยประโยชนตอประชาชนทุกคนในรัฐ ใหความคุมครองสิทธิและเสรีภาพอยางเสมอภาคและ

               ยุติธรรม มีหลักการสําคัญ ดังนี้

                          1. มีรัฐธรรมนูญเปนกฎหมายสูงสุดที่ใชในการปกครองประเทศ  ซึ่งไดกําหนดความสัมพันธ
               ระหวางสถาบันการเมือง การปกครองและประชาชน รวมถึงสิทธิเสรีภาพและหนาที่ของประชาชนทุกคน

                          2. มีอํานาจสูงสุดในการปกครอง คือ อํานาจอธิปไตย ประกอบดวย อํานาจนิติบัญญัติ อํานาจ
               บริหารและอํานาจตุลาการในระบอบประชาธิปไตย  ประชาชนมีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศและ

               การใชอํานาจตองเปนไปตามรัฐธรรมนูญที่กําหนด

                          3. การปกครองระบอบประชาธิปไตยใหถือวาเสียงขางมากหรือเหตุผลของคนสวนใหญเปนมติ
               ที่ตองยอมรับ

                          4. มีความเสมอภาค โดยประชาชนทุกคนมีสิทธิเทาเทียมกันในทุกๆ ดาน เพราะทุกคนอยูภายใต
               การปกครองของรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน

                       รูปแบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

                          รูปแบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  แบงอํานาจในการบริหารประเทศออกเปน
               3 สวน รวมเรียกวา “อํานาจอธิปไตย” ประกอบดวย

                          1. อํานาจนิติบัญญัติ  พระมหากษัตริยทรงเปนผูใชพระราชอํานาจนิติบัญญัติผานทางรัฐสภา

               ซึ่งเปนอํานาจที่ใชในการตรากฎหมาย ควบคุมการบริหาราชการแผนดินของฝายบริหารและกําหนดนโยบาย
               ใหฝายบริหารปฏิบัติ  สถาบันทางการเมืองที่เกี่ยวของกับอํานาจนิติบัญญัติ  ไดแก  รัฐสภา ประกอบดวย

               สภาผูแทนราษฎรและวุฒิสภา  และใหถือวารัฐสภาเปนตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศและเปนผูรักษา
               ผลประโยชนของประชาชน

                          2. อํานาจบริหาร  พระมหากษัตริยทรงเปนผูใชพระราชอํานาจบริหารผานทางรัฐบาลหรือ

               คณะรัฐมนตรี มีหนาที่ในการวางนโยบาย กําหนดเปาหมายดําเนินกิจการตาง ๆ ของรัฐ เพื่อบําบัดทุกขบํารุง
               สุขของประชาชน ดวยเหตุนี้อํานาจบริหารจึงมีความสําคัญตอระบบการปกครองของรัฐ
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160