Page 17 - 012สังคมศึกษา-สค21001
P. 17

9


               เรื่องที่ 2 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตรกายภาพ

                       การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตรกายภาพ  หมายถึง  ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดลอม
               ทางกายภาพที่อยูรอบตัวมนุษย  ทั้งสวนที่เปนธรณีภาค  อุทกภาค  บรรยากาศภาคและชีวภาค  ตลอดจน

               ความสัมพันธทางพื้นที่ของสิ่งแวดลอมทางกายภาพตาง ๆ ดังกลาวขางตน

                       การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตรกอใหเกิดความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ  ทั้งภูมิประเทศและ
               ภูมิอากาศในประเทศไทยและประเทศในทวีปเอเชีย สวนมากเกิดจากปรากฏการณตามธรรมชาติและเกิดผล

               กระทบตอประชาชนที่อาศัยอยู รวมทั้งสิ่งกอสรางปรากฏการณตาง ๆ ที่มักจะเกิดมีดังตอไปนี้

                       2.1  การเกิดแผนดินไหว  แผนดินไหวเปนปรากฏการณธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของ
               แผนเปลือกโลก (แนวระหวางรอยตอธรณีภาค) ทําใหเกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญเลื่อนเคลื่อนที่

               หรือแตกหักและเกิดการโอนถายพลังงานศักยผานในชั้นหินที่อยูติดกัน  พลังงานศักยนี้อยูในรูปเคลื่อนไหว

               สะเทือน จุดศูนยกลางการเกิดแผนดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเลื่อน อยูในระดับความลึกตาง ๆ ของ
               ผิวโลก สวนจุดที่อยูในระดับสูงกวา ณ ตําแหนงผิวโลก เรียกวา “จุดเหนือศูนยกลางแผนดินไหว” (epicenter)

               การสั่นสะเทือนหรือแผนดินไหวนี้จะถูกบันทึกดวยเครื่องมือที่เรียกวา ไซสโมกราฟ
                          1) สาหตุการเกิดแผนดินไหว

                              -  แผนดินไหวจากธรรมชาติ  เปนธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง  สวนมากเปนปรากฏการณ

               ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปลอยพลังงานที่สะสมไว ภายใน
               โลกออกมาอยางฉับพลัน เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกใหคงที่โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน

               ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยูดานนอกสุดของโครงสรางของโลก  มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอยางชา  ๆ
               อยูเสมอ แผนดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบอยในบริเวณขอบเขตของ

               แผนเปลือกโลกที่แบงชั้นเปลือกโลกออกเปนธรณีภาค  (lithosphere)  เรียกแผนดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณ

               ขอบเขตของแผนเปลือกโลกนี้วา แผนดินไหวระหวางแผน (interpolate earthquake) ซึ่งเกิดไดบอยและ
               รุนแรงกวา แผนดินไหวภายในแผน (intraplate earthquake)

                              -  แผนดินไหวจากการกระทําของมนุษย ซึ่งมีทั้งทางตรงและทางออม เชน การทดลองระเบิด

               ปรมาณู การทําเหมือง สรางอางเก็บน้ําหรือเขื่อนใกลรอยเลื่อน การทํางานของเครื่องจักรกล การจราจร
               เปนตน

                          2) การวัดระดับความรุนแรงของแผนดินไหว โดยปกติจะใชมาตราริคเตอร ซึ่งเปนการวัดขนาด

               และความสัมพันธของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกลศูนยกลาง
                          ระดับความรุนแรงของแผนดินไหว

                          1 - 2.9 เล็กนอย ผูคนเริ่มรูสึกถึงการมาของคลื่น มีอาการวิงเวียนเพียงเล็กนอยในบางคน
                          3 - 3.9 เล็กนอย ผูคนที่อยูในอาคารรูสึกเหมือนมีอะไรมาเขยาอาคารใหสั่นสะเทือน

                          4 - 4.9 ปานกลาง ผูที่อาศัยอยูทั้งภายในอาคารและนอกอาคาร รูสึกถึงการสั่นสะเทือน วัตถุหอย
               แขวนแกวงไกว

                          5 - 5.9 รุนแรงเปนบริเวณกวาง เครื่องเรือนและวัตถุมีการเคลื่อนที่
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22