Page 28 - สมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศ
P. 28
ประวัติศาสตร์ ม. ๓ หน่วยการเรียนที่ ๓ ประวัติศาสตร์ไทยสมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศ ๒๗
ประเทศของเราให้หมด เลิกค้าขายกับเยอรมัน ซึ่งเราจะเสียเปรียบถ้าสงครามสงบลง เมื่อรัฐบาลคิดแบบนี้ ไทยจึง
ประกาศสงครามกับฝุายมหาอ านาจกลาง (เยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี ตุรกี ) เมื่อ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐
ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ ๗ ( พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ) ( ๒๕/๑๑/
๒๔๖๘-๐๒/๐๓/๒๔๗๗ )
ด้านการปกครองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ( ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ – ๒๔ มิถุน ายน ๒๔๗๕ )
ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
-รัชกาลที่ ๗ ได้โปรดให้รวมกระทรวงธรรมการไว้ในกระทรวงศึกษาธิการแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงธรรมการ -
-ยกเลิกกระทรวงมุรธาธรโดยโอนงานไปอยู่รวมกับ กรมราชเลขาธิการ
-รวมกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคมจัดเป็นกระทรวงเดียวกันเรียกชื่อว่า กระทรวงพาณิชย์และ
คมนาคม -รวมกระทรวงทหารเรือเข้ากับกระทรวงกลาโหม
มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการ ได้แก่
อภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการทั้งปวงในพระองค์ สมาชิกของสภานี้ล้วนเป็นพระบรมวงศา นุวงศ์ชั้น
ผู้ใหญ่ สภานี้ก าหนดให้มีการประชุมสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ในวันศุกร์ โดยมี รัชกาลที่ ๗ เป็นประธาน มีการประชุมครั้ง
องคมนตรีสภา จัดตั้งเมื่อ ๒ กันยายน ๒๔๗๐ มีคณะกรรมการจ านวน ๔๐ คนเรียกว่า สภากรรมการองคมนตรี
เปิดประชุมสภาครั้งแรกเมื่อ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๐ โดยมี กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์เป็นประธานสภา องคมนตรีสภา
นี้กล่าวกันว่าจะโปรดให้ท าหน้าที่เป็น รัฐสภา เพื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา
เสนาบดีสภา สภานี้เดิมเคยมีอยู่แล้ว ประกอบด้วยสมาชิกผู้เป็นเสนาบดีบังคับบัญชาราชการกระทรวงต่าง ๆ มี
หน้าที่ส าหรับทรงปรึกษาหารือราชการ อันก าหนดไว้ให้ เป็นหน้าที่ในกระทรวงนั้น ๆ ในการประชุม รัชกาลที่ ๗ ทรง
เป็นประธาน นอกจากทั้ง ๓ สภานี้แล้วยังมี
สภาป้องกันพระราชอาณาจักร ส าหรับท าหน้าที่ พิจารณาและท าความตกลง ในนโยบายวิธีปูองกันพระ
ราชอาณาจักรและประสานงาน ในราชการของกระทรวงฝุายทหารและฝุายพลเรือน
สภาการคลัง มีหน้าที่ตรวจตราวินิจฉัยเงินงบประมาณของแผ่นดินและรักษาผลประโยชน์ทางการเงินของประเทศ
และวินิจฉัยการคลังเสนอต่อพระมหากษัตริย์สภาทั้งหมดนี้ได้ถูกยกเลิกไป หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น
ประชาธิปไตย
ครูผู้สอน คุณครูจิราพร พิมพ์วิชัย