Page 48 - sittichok
P. 48
ตัวอย่างโครงการประเภทสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพ
ชื่อผู้รับผิดชอบ : นายเกษม สุวรรณจักร์ และนายกิตติพงค์ นิมากร
ชื่อโครงการ : เครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าอัตโนมัติ
ปี พ.ศ. : พ.ศ. 2552
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าอัตโนมัติสําหรับใช้ประกอบ
การเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ที่ต้องใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์ขนาด 2.6 มิลลิเมตร โดยสามารถ
เบิก จ่ายได้ทั้งหมด 60 บัตร ในแต่ละบัตรสามารถกําหนดการจ่ายได้ครั้งละ 999 เส้นต่อบัตร ซึ่ง
การ จ่ายแต่ละครั้งจะต้องนําลวดเก่าที่มีขนาดความยาว 35-55 มิลลิเมตรมาแลก เพื่อเป็นการ
ตรวจสอบ การใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้าให้เหมาะสมต่อการฝึกปฏิบัติต่องานนั้น ๆ รวมทั้งมีคู่มือการใช้
งาน และมี ความปลอดภัยในการใช้งาน โดยเป็นการพัฒนาให้มีเทคโนโลยีที่สูงขึ้น เหมาะสมกับ
งานปัจจุบัน ซึ่ง ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าอัตโนมัติ จํานวน 1 ชุด ถูกประเมินโดย
ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ที่ มีประสบการณ์ในงานแต่ละด้านไม่น้อยกว่า 5 ปี ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญ
ที่มีประสบการณ์ด้าน งานเชื่อมไฟฟ้าจํานวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านงาน
เครื่องกลโรงงานจํานวน 3 คน และ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านงานอิเล็กทรอนิกส์จํานวน
3 คน ทําการประเมินคุณภาพให้กับ เครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าอัตโนมัติ โดยมีค่า IOC ไม่น้อย
กว่า 0.5 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่กําหนดไว้ จึงกล่าวได้ว่าเครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าอัตโนมัติที่ผู้วิจัยสร้าง
ขึ้นนี้ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้อง กันว่ามีคุณภาพ และเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย
สามารถนําเครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าอัตโนมัติฟ ไปใช้ประกอบการฝึกปฏิบัติประเภทงานที่ต้อง
ใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้าขนาด 2.6 มิลลิเมตร เพื่อเป็นการ ปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักการใช้วัสดุในงานนั้น ๆ
ให้คุ้มค่ามากที่สุด
บทนํา
1. ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
ด้วยสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้เปิดการเรียนการสอนช่างเชื่อมโลหะขึ้นทั่ว
ประเทศ และเป็นหน่วยงานหนึ่งซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิต
บุคลากร ที่มีทักษะเข้าสู่ระบบงานทางด้านอาชีวศึกษา ดังนั้นผู้เรียนทุกสาขาวิชาชีพที่ได้ผ่าน
การศึกษาแล้วนั้น สิ่งที่สําคัญอย่างยิ่งที่ทางสถาบันการอาชีวศึกษามุ่งเน้นคือการฝึกฝนทักษะ
ทางด้านวิชาชีพเฉพาะใน
42