Page 153 - E book พว21001_Neat
P. 153

152




                            5.2.2 พายุฝนฟ้ าคะนองภูเขา (Orographic Thunderstorm)
                            เกิดจากการที่มวลอากาศอุ่นเคลื่อนที่ไปปะทะกับภูเขา  ขณะที่มวลอากาศเคลื่อนที่ไปตามลาด

                     เขาอากาศจะเย็นตัวลง  ไอน ้ากลั่นตัวกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส  (Cumulonimbus)  ท าให้เกิดลักษณะ

                     ของฝนปะทะหน้าเขา พายุลักษณะนี้จะเกิดบริเวณต้นลมของภูเขา เมฆจะก่อตัวในแนวตั้งสูงมาก ท าให้

                     ลักษณะอากาศแปรปรวนมาก
                            5.2.3. พายุฝนฟ้ าคะนองแนวปะทะ (Frontal Thunderstorm)

                            เกิดจากการปะทะกันของมวลอากาศ          มักเกิดจากการปะทะของมวลอากาศเย็นมากกว่า

                     มวลอากาศอุ่น  มวลอากาศอุ่นจะถูกดันให้ยกตัวลอยสูงขึ้น  ไอน ้ากลั่นตัวกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส
                     (Cumulonimbus)  และเกิดเป็นพายุฝนฟ้ าคะนองแนวปะทะอากาศเย็น  อากาศเย็น  มวลอากาศอุ่น

                     เคลื่อนที่ไป การเคลื่อนที่มาปะทะกันของปะทะภูเขา มวลอากาศอุ่นและเย็น ท าให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

                            5.3 ปรากฏการณ์ที่เกิดจากพายุฝนฟ้ าคะนอง

                            ขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองจะเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ลูกเห็บตก มีลมกระโชกแรงเป็นครั้ง
                     คราว โดยในรอบ 1 ป ี ทั่วโลกมีพายุฝนฟ้ าคะนองเกิดขึ้นถึง 16 ล้านครั้ง โดยเฉพาะในเขตละติจูดสูง และ

                     ในเมืองที่อากาศร้อนชื้นจะมีจ านวนวันที่มีพายุฝนฟ้ าคะนองเกิดได้ถึง 80 - 160 วันต่อปี ส าหรับประเทศ

                     ไทยมักเกิดมากในเดือน เมษายน - พฤษภาคม เป็นช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนองมากที่สุด

                            5.3.1 การเกิดฟ้ าแลบ เกิดขึ้นพร้อมกับฟ้ าร้อง แต่มนุษย์เรามองเห็นฟ้ าแลบก่อนได้ยินเสียงฟ้ า
                     ร้อง เนื่องจากแสงเดินทางเร็วกว่าเสียง (แสงมีอัตราเร็ว 300,000 กิโลเมตร/วินาที ส่วนเสียงมีอัตราเร็ว

                     1/3 ของแสง) ประกายไฟฟ้าของฟ้าแลบ 1 ครั้ง มีปริมาณไฟฟ้าจ านวนสูงถึง 200,000 แอมแปร์ และมี

                     ความต่างศักย์ถึง 30  ล้านโวลต์  ฟ้ าแลบเกิดจากประจุไฟฟ้ าเคลื่อนที่จากก้อนเมฆสู่ก้อนเมฆ  จากก้อน
                     เมฆสู่พื้นดิน โดยมีขั้นตอนคือ ประจุไฟฟ้ าที่เคลื่อนที่ถ่ายเทในก้อนเมฆมีการเคลื่อนที่หลุดออกมาและ

                     ถ่ายเทสู่อาคารสิ่งก่อสร้าง หรือต้นไม้สูงบนพื้นดิน เหตุการณ์เหล่านี้ใช้เวลาน้อยกว่า 1 วินาที และเกิด

                     เป็นแสงของฟ้าแลบ ซึ่งบางครั้งล าแสงมีความยาวถึง 60 - 90 เมตร
                            5.3.2 การเกิดฟ้ าร้อง เนื่องจากประกายไฟฟ้ าของฟ้ าแลบท าให้อากาศในบริเวณนั้นมีอุณหภูมิ

                     สูงขึ้นถึงประมาณ 25,000 องศาเซลเซียส อย่างเฉียบพลัน มีผลท าให้อากาศมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

                     และรุนแรง ท าให้เกิดเสียง "ฟ้าร้อง" เนื่องจากฟ้าร้องและฟ้าแลบเกิดขึ้นพร้อมกัน ดังนั้นเมื่อเรามองเห็น
                     ฟ้าแลบ และนับจ านวนวินาทีต่อไปจนกว่าจะได้ยินเสียงฟ้ าร้อง เช่น ถ้านับได้ 3 วินาที แสดงว่าฟ้ าแลบ

                     อยู่ห่างจากเราไปประมาณ  1  เมตร  และสาเหตุที่เราได้ยินเสียงฟ้ าร้องครวญครางอย่างต่อเนื่องไปอีก

                     ระยะหนึ่ง  เนื่องจากมีสาเหตุมาจากการเดินทางของเสียงมีความต่างกันในเรื่องของระยะเวลาและ

                     ระยะทางที่คาบเกี่ยวกันนั่นเอง
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158