Page 157 - E book พว21001_Neat
P. 157
156
ผ่าพายุไซโคลน
การก่อตัวของพายุไซโคลนแต่ละครั้ง ประกอบด้วยส่วนประกอบส าคัญ 3 ส่วน ได้แก่
ตาพายุ (Eye) เป็นบริเวณจุดศูนย์กลางของการหมุนของพายุ และเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศ
ต ่า ลมพัดเบา ไม่มีฝน มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-50 กิโลเมตร
ขอบตาพายุ หรือ ก าแพงตา (Eye Wall) เป็นพื้นที่รอบๆ ตาพายุ เป็นบริเวณที่ประกอบด้วยลมที่
พัดรุนแรงที่สุด
บริเวณแถบฝน (Rainbands) เป็นบริเวณที่ประกอบด้วยเมฆพายุ และวงจรการเกิดไอน ้า โดยมี
การกลั่นตัวเป็นหยดน ้า เพื่อป้ อนให้แก่พายุ
ลักษณะการเกิด "พายุงวงช้าง" หรือ "นาคเล่นน ้า" มี 2 แบบ ได้แก่
1. เป็นพายุทอร์นาโด ที่เกิดขึ้นเหนือผืนน ้า (ซึ่งอาจจะเป็นทะเล ทะเลสาบ หรือแอ่งน ้าใดๆ)
โดยพายุทอร์นาโดจะเกิดขึ้นระหว่างที่ฝนฟ้ าคะนองอย่างหนัก เรียกว่า พายุฝนฟ้ าคะนองแบบซูเปอร์
เซลล์ (Supercell thunderstorm) และมีระบบอากาศหมุนวนที่เรียกว่า เมโซไซโคลน (Mesocyclone) จึง
เรียกพายุนาคเล่นน ้าแบบนี้ว่า นาคเล่นน ้าที่เกิดจากทอร์นาโด (Tornado waterspout)
2. เกิดจากการที่มวลอากาศเย็น เคลื่อนผ่านเหนือผิวน ้าที่อุ่นกว่า โดยบริเวณใกล้ๆ ผิวน ้ามี
ความชื้นสูง และไม่ค่อยมีลมพัด (หรือถ้ามีก็พัดเบาๆ) ผลก็คืออากาศที่อยู่ติดกับผืนน ้าซึ่งอุ่นในบาง
บริเวณจะยกตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง ท าให้อากาศโดยรอบไหลเข้ามาแทนที่ จากนั้นจึงพุ่งเป็น
เกลียวขึ้นไป แบบนี้เรียกว่า "นาคเล่นน ้า" (True waterspout) ซึ่งมักเกิดในช่วงอากาศดีพอสมควร (fair-
weather waterspout) อาจเกิดได้บ่อย และประเภทเดียวกับกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เนื่องจาก
ในช่วงที่เกิดมักจะมีพายุฝนฟ้าคะนองร่วมอยู่ด้วย
ความแตกต่างของ 2 แบบนี้ก็คือ นาคเล่นน ้าที่เกิดจากทอร์นาโดจะเริ่มจากอากาศหมุนวน (ใน
บริเวณเมฆฝนฟ้าคะนอง) แล้วหย่อนล างวงลงมาแตะพื้น คืออากาศหมุนจากบนลงล่าง ส่วนนาคเล่นน ้า
ของแท้จะเริ่มจากอากาศหมุนวนบริเวณผิวพื้นน ้า แล้วพุ่งขึ้นไป คืออากาศหมุนจากล่างขึ้นบน ในช่วงที่
อากาศพุ่งขึ้นเป็นเกลียววนนี้ หากน ้าในอากาศยังอยู่ในรูปของไอน ้า เราจะยังมองไม่เห็นอะไร แต่หาก
อากาศขยายตัวและเย็นตัวลงถึงจุดหนึ่ง ไอน ้าก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน ้าจ านวนมาก ท าให้เราเห็นท่อหรือ
"งวงช้าง" เชื่อมผืนน ้าและเมฆ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "พายุงวงช้าง"
โดยส่วนใหญ่มีความยาวประมาณ 10 - 100 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมีตั้งแต่ 1 เมตร ไป
จนถึงหลาย 10 เมตร โดยในพายุอาจมีท่อหมุนวนเพียงท่อเดียวหรือหลายท่อก็ได้ แต่ละท่อจะหมุนด้วย
อัตราเร็วในช่วง 20-80 เมตรต่อวินาที กระแสลมในตัวพายุเร็วถึง 100 - 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ
อาจสูงถึง 225 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งสามารถคว ่าเรือเล็กๆ ได้สบาย ดังนั้น ชาวเรือควรสังเกตทิศ
ทางการเคลื่อนที่ให้ดี แล้วหนีไปในทิศตรงกันข้าม นอกจากนี้ พายุชนิดนี้ยังสามารถเคลื่อนที่ได้เร็ว