Page 8 - Annual Report 2018 (E-book)
P. 8
ข้อมูลภาพรวมหน่วยงาน
ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ประเภทของโรงเรียนเอกชน
โรงเรียนเอกชน หมายถึง สถานศึกษาของเอกชนที่จัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในระบบ
หรือโรงเรียนนอกระบบที่มิใช่เป็นสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษา
เอกชน จ าแนกได้ดังนี้
1. โรงเรียนในระบบ หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยก าหนดจุดมุ่งหมายวิธีการศึกษา
หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมิน ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการส าเร็จการศึกษาที่
แน่นอน แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1) ประเภทสามัญศึกษา หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรของ
กระทรวงศึกษาธิการในระดับต่างๆ ได้แก่ ระดับก่อนประถมศึกษา (เตรียมอนุบาล อนุบาล) ระดับ
ประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา (มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย)
2) ประเภทนานาชาติ หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยใช้หลักสูตรต่างประเทศ หรือ
หลักสูตรต่างประเทศที่ปรับรายละเอียดเนื้อหารายวิชาใหม่ หรือหลักสูตรที่จัดท าขึ้นเองที่ไม่ใช่หลักสูตรของ
กระทรวงศึกษาธิการ และใช้ภาษาต่างประเทศเป็นสื่อในการเรียนการสอนให้กับนักเรียน โดยไม่จ ากัดเชื้อ
ชาติ ศาสนา และไม่ขัดต่อศีลธรรมและความมั่นคงของประเทศ
3) ประเภทอาชีวศึกษา* หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรของ
กระทรวงศึกษาธิการ หรือหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการในระดับต่างๆ ได้แก่ ระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ทั้งนี้ โรงเรียนประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษา ให้รวมถึงโรงเรียนที่จัดการเรียน
การสอนในลักษณะโรงเรียนการกุศล โรงเรียนการศึกษาพิเศษ หรือโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์
2. โรงเรียนนอกระบบ หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมีความยืดหยุ่นในการก าหนด
จุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไข
ส าคัญของการส าเร็จการศึกษา แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ 1) ประเภทสอนศาสนา 2) ประเภทศิลปะ
และกีฬา 3) ประเภทวิชาชีพ 4) ประเภทกวดวิชา และ 5) ประเภทสร้างเสริมทักษะชีวิต
นอกจากนี้ โรงเรียนนอกระบบยังรวมถึง สถาบันศึกษาปอเนาะ ซึ่งเป็นปอเนาะที่ได้รับการจด
ทะเบียนอนุญาตให้จัดตั้งเป็นสถาบันศึกษาปอเนาะที่ไม่ประสงค์จะจัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
ก าหนดสอนเฉพาะศาสนาอิสลาม การจัดการเรียนการสอนเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองไม่มีหลักสูตรเป็น
ลายลักษณ์อักษร เป็นการอ่านการอรรถอธิบายคัมภีร์อัลกุรอ่าน และวิชาภาษาอาหรับ ไม่มีระบบชั้นเรียน
ไม่ก าหนดเวลาเรียนที่แน่นอน จะใช้เวลาเรียนเท่าใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้เรียนและการประเมินผลของ
โต๊ะครู ปัจจุบันรัฐบาลได้ส่งเสริมสถาบันศึกษาปอเนาะเหล่านี้ เป็นสถาบันสังคมเพื่อการเรียนการสอนตาม
หลักศาสนาอิสลาม ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตตามวัฒนธรรมอิสลามและความต้องการของชุมชนและรวมถึงศูนย์
การศึกษาอิสลามประจ ามัสยิด (ตาดีกา) ซึ่งเป็นสถานที่อบรม เด็กเล็กคู่กับมัสยิด เปิดสอนวันเสาร์ - อาทิตย์
หรือช่วงเย็นของวันธรรมดา (ยกเว้นวันศุกร์ ซึ่งเป็นวันหยุดศาสนาอิสลาม) การจัดการเรียนการสอนใช้หลักสูตร
อิสลามศึกษาฟัรฎูอีน ประจ ามัสยิด พ.ศ. 2548 ภาษาส่วนใหญ่ใช้ภาษาท้องถิ่นและมาลายูกลาง
*หมายเหตุ โรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษาได้ย้ายสังกัดไปอยู่ภายใต้ สอศ. ตามค าสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ 8/2559 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เรื่อง การบริหารจัดการรวมสถานศึกษาภาครัฐและภาคเอกชน
หน้าที่ 4