Page 30 - geographychalisa
P. 30
30
ใบความรู้ที่4
เรื่อง ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย
ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย
ค าว่า “ ภูมิอากาศ “ หมายถึง ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคใดมิภาคหนึ่งในช่วง
ระยะเวลายาวนานพอสมควร นักภูมิศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่านได้ก าหนดหลักเกณฑ์การแบ่ง
เขตภูมิอากาศขึ้นเพื่อคนทั่วโลกเข้าใจตรงกัน ที่นิยมกันมาก คือ การแบ่งเขตภูมิอากาศ
ของ ดร. วลาดิเมียร์ เคิปเปน นักวิทยาศาสตร์ชาวอแแสเตรีย ได้แบ่งภูมิอากาศออกเป็น 5
เขตใหญ่ ดังนี้ เขตร้อน เขตแห้งแล้ง เขตอบอุ่น เขตหิมะ และเขตน ้าแข็ง
ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างเส้นศูนย์สูตร และเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ จึงได้รับแสง
จากดวงอาทิตย์ส่องลงมาเป็นมุมฉากเกือบตลอดทั้งปี ท าให้มีอุณหภูมิสูง ประเทศไทยจึงมีอากาศ
ร้อน ประกอบกับท าเลที่ตั้งของประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับอ่าวไทยและทะเล
อันดามัน ท าให้ได้รับอิทธิพลความชื้นจากน่านน ้าทั้งสองด้วย
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศไทย ได้แก่ สิ่งต่อไปนี้
1. ต าแหน่งที่ตั้งตามแนวละติจูด ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างเส้นศูนย์สูตรกับเส้น ทรอปิ
กออฟแคนเซอร์ ซึ่งที่ตั้งตามแนวละติจูดนี้ได้รับแสงอาทิตส่องลงมาเป็นมุมฉากเกือบตลอดทั้งปี
จึงมีอุณหภูมิสูง จัดอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อน
2. ที่ตั้งใกล้หรือไกลทะเล ท าเลที่ตั้งของประเทศไทยบางส่วนอยู่ใกล้ทะเลและ
มหาสมุทรโดยเฉพาะภาคใต้มีภูมิประเทศเป็นคาบสมุทร ลักษณะเช่นนี้ท าให้พื้นที่ทางตอนบน
ซึ่งเป็นแผ่นดินใหญ่มีลักษณะแตกต่างกับบริเวณตอนล่าง ซึ่งมีทะเลขนาบข้างไม่ว่าจะเป็น
อุณหภูมิ หรือปริมาณน ้าฝน
3. ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศที่มีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศของไทย
ได้แก่ ความสูงของพื้นที่ และการวางตัวของภูเขา