Page 31 - geographychalisa
P. 31
31
ความสูงของพื้นที่ คือ ภูมิประเทศที่เป็นที่สูง ย่อมมีอุณหภูมิลดต ่าลง จึงมีอากาศ
หนาวเย็นกว่าพื้นที่ราบ พื้นที่ยิ่งสูงอุณหภูมิจะลดลงมาก เช่นภาคเหนืออากาศจะไม่ร้อน
เหมือนกับเขตที่ราบ
การวางตัวของภูเขา การวางตัวของภูเขาในประเทศไทยซึ่งทอดแนวยาวจากทิศ
เหนือลงมายังทิศใต้เป็นการขวางกั้นทิศทางลม โดยเฉพาะลมมรสุมซึ่งพัดผ่านประเทศไทย
เกือบตลอดทั้งปี เป็นเหตุให้มีฝนตกชุกทางด้านต้นลมและมีฝนตกน้อยทางด้านปลายลม
4. ทิศทางของลมประจ า ลมประจ าที่พัดผ่านประเทศไทยเกิดจากความแตกต่างระหว่าง
อากาศเหนือภาคพื้นทวีปซึ่งอยู่ทางซีกโลกเหนือ กับอากาศเหนือพื้นน ้าในทะเลและมหาสมุทร
ทางซีกโลกใต้และการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ท าให้เกิดลมประจ าฤดูกาลเรียกว่าลมมรสุม
ลมมรสุมที่พัดผ่านประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นลมที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทย
จากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเวลา 6 เดือน ระหว่างเดือน
พฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ลมนี้จะพัดพาเอาไอน ้าและความชื้นจากมหาสมุทรเข้า มาด้วย
ท าให้มีฝนตกชุกในช่วงนี้
ลมมรสุมตะวันอกเฉียงเหนือ เป็นลมที่พัดจากทวีปในเขตหนาวตั้งแต่ไซบีเรียผ่าน
ประเทศจีนเข้ามาในทางตรงกันข้ามกับลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เป็นเวลา 6 เดือน ระหว่าง
เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายน ลมนี้จะพัดพาเอาความหนาวเย็นและความ แห้งแล้งจาก
ผืนแผ่นดินใหญ่เข้ามา ส าหรับประเทศไทยจะมีความแห้งแล้งและหนาวเย็น
ลมที่พัดในประเทศไทย
ถ้าหากพิจารณาชนิดของลมที่พัดในประเทศไทย โดยยึดระยะเวลาที่พัดเป็นเกณฑ์แล้ว สามารถ
จ าแนกชนิดของลมได้ 3 ประเภทคือ
1.ลมประจ าเวลา เป็นลมที่พัดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในรอบวันอย่างเด่นชัด ลม
ประเภทนี้จะมีความรุนแรงไม่มากนัก จึงมีชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ลมเฉื่อย (Breeze)" ลม
ประจ าเวลาแบ่งออกได้ 4 ชนิดคือ