Page 72 - geographychalisa
P. 72
72
2.4.1 พิกัดภูมิศาสตร์ คือ ระยะละติจูด ลองจิจูด แสดงเป็นเส้นทับบนรายละเอียดของ
แผนที่หรือเป็นขีดที่ขอบของแผนที่
2.4.2 พิกัดฉาก คือ เส้นขนานระยะห่างเท่ากันตัดกันระหว่างเส้นแนวตั้งและเส้นแนว
นอน
3. องค์ประกอบภายนอกแผนที่ ดังนี้
3.1 ระบบบ่งบอกแผนที่ ประกอบด้วย
3.1.1 ชื่อชุดของแผนที่ แสดงชื่อของบริเวณและมาตรส่วนของแผนที่ที่คลอบคลุมอยู่นั้น
3.1.2 หมายเลขล าดับชุด ตามหลักสากลประกอบด้วย รหัสหนึ่งตัวและตัวเลข 4
เช่น L 7404
3.2 มาตรส่วนแผนที่ เป็นขนาดที่บ่งบอกว่าแผนที่ถูกย่อส่วนมาจากของจริงขนาดเท่าไร
ซึ่งมีหน่วยก ากับ เช่น กิโลเมตร ไมล์
3.3 ค าอธิบายสัญลักษณ์ เป็นกรอบข้อความที่แสดงความหมายของสัญลักษณ์ที่ปรากฏ
ในแผนที่เพื่อสื่อความหมายให้ตรงกับผู้อ่านแผนที่ ภายในประกอบด้วยสัญลักษณ์เช่นเดียวกันกับในแผนที่
และความหมายของสัญลักษณ์
ระบบพิกัดที่ใช้ในแผนที่
ระบบพิกัดเป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อใช้อ้างอิงในการก าหนดต าแหน่ งหรือบอกต าแหน่งบน
พื้นผิวโลก ในลักษณะตารางโครงข่ายที่เกิดจากการตัดกันของเส้นตรงในทิศตั้งฉ ากตามแนวจุดก าเนิดเน
ระยะเชิงมุม จากเหนือถึงใต้และตะวันออกถึงตะวันตก โดยเขียนก ากับแต่ละจุดด้วยหมายเลข ที่นิยมใช้ใน
ปัจจุบันมี 2 แบบ ดังนี้
1. พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดภูมิศาสตร์ คือสิ่งที่บอกให้เราทราบถึงต าแหน่งของสถานที่บนแผนที่ โดยยึดตามระบบพิกัด
ทรงกลม (spherical coordinate system) ชาวบาบิโลเนียเป็นผู้คิดแนวคิดพิกัดภูมิศาสตร์ขึ้น ต่อมาโตเลมี
นักปราชญ์ชาวกรีกเป็นผู้ปรับปรุงแนวคิดนี้อีกครั้ง โดยให้หนึ่งวงกลมมีมุม 360 องศา
ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
1. ละติจูด คือมุมที่วัดระหว่างจุดใด ๆ กับเส้นศูนย์สูตร มีค่าสูงสุด 90 องศา เส้นที่ลากต่อเชื่อมทุกจุด
ที่มีละติจูดเท่ากันเราเรียกว่า เส้นขนาน (parallel) เวียนเป็นวงกลมรอบโลก โดย ขั้วโลกแต่ละขั้วจะมีค่า
ละติจูดเป็น 90 องศา เช่น ขั้วโลกเหนือมีละติจูด 90 องศาเหนือ เป็นต้น
2. ลองจิจูด คือมุมที่วัดระหว่างจุดใด ๆ กับเส้นเมอริเดียนที่ศูนย์ มีค่าสูงสุด 180 องศา ซึ่งพาด
ผ่านหอดูดาวหลวงกรีนิช สหราชอาณาจักร ประเทศอังกฤษ เส้นที่ลากต่อเชื่อมทุกจุดที่มีลองจิจูดเท่ากันจะ
เรียกว่า เส้นเมริเดียน (meridian)