Page 113 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 113
108
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 อธิบายความหมาย “สิทธิ” ไว้ว่า
“ความสําเร็จ หรืออํานาจที่จะกระทําการใด ๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย”
จรรยา อุปัญญ์ (2546) นิยามว่า สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและ
คุ้มครองให้ ซึ่งมีความหมายว่า เป็นประโยชน์ที่กฎหมายรับรองว่ามีอยู่และเป็นประโยชน์ ที่
กฎหมาย “คุ้มครอง” คือ คุ้มครองมิให้มีการละเมิดสิทธิ รวมทั้งบังคับให้เป็นไปตาม สิทธิ ใน
กรณีที่มีการละเมิดด้วย เช่น สิทธิใน ครอบครัว สิทธิความเป็นส่วนตัว สิทธิใน เกียรติยศชื่อเสียง
สิทธิในการเลือกอาชีพ ถิ่นที่อยู่ สิทธิในทรัพย์สิน เป็นต้น
คําว่า สิทธิ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 อธิบายว่า
หมายถึง อํานาจ อันชอบธรรม แต่ในทางนิติศาสตร์ มีความหมายสองอย่าง คือ สิทธิตาม
ธรรมชาติและสิทธิ์ตามกฎหมาย
กล่าวโดยสรุป สิทธิ เป็นอํานาจโดยชอบธรรมตามกฎหมาย มนุษย์ทุกคน มีความ
เท่าเทียมกันตามอํานาจหรือประโยชน์ที่บุคคลพึงได้ตามหลักศีลธรรม จริยธรรม และหลัก
กฎหมายโดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น สิทธิปรากฏในหลายหลายๆด้าน เช่น สิทธิในบ้านเรือนที่อยู่
อาศัย สิทธิในทรัพย์สินสิทธิในการเลือกตั้ง เป็นต้น
6.1.2 สิทธิพลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
สิทธิเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งอยู่ในตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด หรือเกิดขึ้นโดยกฎหมาย
เพื่อให้ มนุษย์ได้รับประโยชน์และจะเป็นผู้เลือกใช้สิ่งนั้นเองโดยไม่มีผู้ใดบังคับได้ เช่น สิทธิในการ
กินการนอนแต่สิทธิบางอย่างมนุษย์ได้รับโดยกฎหมายกําหนดให้มี เช่น สิทธิในการมีการใช้
ทรัพย์สิน สิทธิในการร้องทุกข์เมื่อถูกกระทําละเมิดกฎหมาย
รูปที่ 6.2 สิทธิพลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญ