Page 116 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 116
111
8. หน้าที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริต บุคคลใดไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่
แจ้งสาเหตุ ย่อมเสีย สิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
6.3 เสรีภาพ
6.3.1 ความหมายของเสรีภาพ
เสรีภาพ หมายถึง ภาวะมนุษย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบงําของผู้อื่น มีอิสระที่จะ
กระทําหรืองด เว้นการกระทําการ (วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ 2538 : 22 อ้างถึงใน มานิตย์ จุมปา
2551 : 105) เช่น เสรีภาพใน การติดต่อสื่อสาร เสรีภาพในการเดินทาง เป็นต้น
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 อธิบายความหมายของเสรีภาพ อํานาจ ตัดสินใจ
ด้วยตนเองของมนุษย์ ที่เลือกดําเนินพฤติกรรมของตนเอง โดยไม่มีบุคคลอื่นใดอ้างหรือใช้อํานาจ
แทรกแซงเกี่ยวกับการตัดสินใจ
เสรีภาพ หมายถึง อํานาจตัดสินใจด้วยตนเองของมนุษย์ที่จะเลือกดําเนิน
พฤติกรรมของ ตนเอง โดยไม่มีบุคคลอื่นใดอ้างหรือใช้อํานาจแทรกแซงเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
นั้น และเป็นการตัดสินใจ ด้วยตนเองที่จะกระทําหรือไม่กระทําการสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันไม่เป็นการฝ่า
ฝืนต่อกฎหมาย แต่การที่ มนุษย์ ดํารงชีวิตอยู่ในสังคมแล้วแต่ละคนจะตัดสินใจกระทําการหรือไม่
กระทําการสิ่งใดนอกเหนือ นอกจากต้อง ปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ย่อมต้องคํานึงถึงกฎเกณฑ์ต่าง
ๆ ของสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี และ วัฒนธรรม เหล่านี้เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป เสรีภาพ เป็นความอิสระของบุคคลที่จะกระทําการใด ๆ ตามความ
ต้องการ โดยไม่ ละเมิดขอบเขตก่อความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นและสังคม ไม่ละเมิดกฎหมาย
ข้อบังคับ ตามสิทธิเสรีภาพความ เป็นมนุษย์
6.3.2 เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน
1. เสรีภาพในการนับถือศาสนา
2. เสรีภาพในการประกอบอาชีพ
3. เสรีภาพในร่างกาย
4. เสรีภาพในการศึกษาอบรมหน้าที่ของคนไทยตามระบอบประชาธิปไตย
5. เสรีภาพในเคหะสถาน