Page 67 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 67

62





                         3. การเปลี่ยนแปลงในระบบความสัมพันธ์ของบุคคลจะแตกต่างไปจากที่เคย

           เป็นอยู่แต่เดิม เช่น แต่เดิมมีพิธีลงแขกเกี่ยวข้าว แต่เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาความสัมพันธ์ของคนใน

           สังคมก็น้อยลง

                         4. การเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้น จึง
           ยกเลิก ประเพณีดั้งเดิม หรือประกอบพิธีกรรมให้น้อยลงเพื่อสะดวก ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา




                  3.1.8 แนวทางอนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมไทย
                         ขนบธรรมเนียมและประเพณีไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ซึ่งมี

           ความสัมพันธ์กับ ความเชื่อค่านิยม เป็นสื่อที่เสริมสร้างความสามัคคีในสังคม จึงควรปลูกฝังให้มี

           การศึกษา และถือปฏิบัติ อย่างถูกต้องเห็นความสําคัญไม่ให้เบี่ยงเบนไปขากขนบธรรมเนียม
           ประเพณีดั้งเดิม ทั้งในระดับท้องถิ่นและ ระดับชาติตามแนวทางดังนี้

                         1. ส่งเสริมการศึกษาถึงคุณค่าของขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น เห็นคุณค่า

           สามารถ นํามาปรับใช้ในสังคมปัจจุบันได้
                         2.   ส่งเสริมฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นที่มีคุณค่าให้กลับมามี

           ความสําคัญเป็นที่ ยอมรับและถือเป็นวิถีชีวิตอันสําคัญของท้องถิ่น

                         3. สนับสนุนกิจกรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนที่มีผลต่อวิถีชีวิตของคน

           ส่วนรวม
                         4. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางขนบธรรมเนียมประเพณีชุมชนที่เกี่ยวข้องกับ

           สถาบันต่าง ๆ

                         5. ส่งเสริมจัดทําหลักสูตรการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี
           ท้องถิ่น

                         6. ส่งเสริมจัดกิจกรรมเสริมการเรียนการสอนให้มีความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียม

           ประเพณี จากสถานการณ์จริง และสถานการณ์จําลอง

                         7. ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีภายใน
           และ ภายนอกกับชุมชนภายในโอกาสเหมาะสม
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72