Page 72 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 72
67
4. ด้านสังคมและวัฒนธรรม รับอิทธิพลต่างชาติ ด้านเทคโนโลยีการบริโภค การ
แต่งกาย การแข่งขัน มีการชิงดีชิงเด่นในสังคม ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นแบบทุติยภูมิ
5. วัฒนธรรมต่อต้าน วัฒนธรรมย่อยที่มีความแตกต่างกับวัฒนธรรมใหญ่ของ
สังคม มักเกิด ความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม
6. วัฒนธรรมอุดมคติ หมายถึง วัฒนธรรมในความคิด วัฒนธรรมจริง หมายถึง
วัฒนธรรม เป็นจริงในสังคม
3.2.6 เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย
(หน้าที่พลเมืองฯ) เอกลักษณ์ หรือ ลักษณะประจําชาติเป็นลักษณะที่เป็นอุดมคติ
ซึ่งสังคมต้องการ ยึดมั่นเป็น หลักการในการดําเนินชีวิต ลักษณะที่สังคมเห็นว่าเป็นสิ่งดีงามและ
ให้การเทิดทูนยกย่อง ลักษณะนิสัยที่คน ทั่วไปในสังคมนั้นแสดงออกในสถานการณ์ต่าง ๆ หรือ
เป็นเรื่องของความเคยชินที่ปฏิบัติกันมา
เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย มีดังนี้
1. ความรักอิสรภาพหรือความเป็นไท คนไทยมีลักษณะนิสัยไม่ต้องการอยู่ใน
อํานาจบังคับ ของผู้อื่น ไม่ชอบการควบคุมเข้มงวด ไม่ชอบการกดขี่หรือให้ผู้อื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวสั่ง
การในรายละเอียดในการ ทํางานและการดําเนินชีวิตส่วนตัว คนไทยเป็นคนที่หยิ่งและรักศักดิ์ศรี
ของตนเอง การบังคับน้ําใจกันหรือ ฝ่าฝืนความรู้สึกของกันและกันถือว่าเป็นสิ่งไม่ควรทํา
2. การเป็นตัวของตัวเองหรือปัจเจกบุคคลนิยม คือ การให้คุณค่าในความเป็นตัว
ของตัวเอง ความนิยมนี้ส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของพุทธศาสนาซึ่งความสําคัญของตัวบุคคลเป็น
พิเศษ ถือว่าบุคคล จะเป็นอย่างไร ย่อมแล้วแต่กรรมของบุคคลนั้นในอดีต การสอนให้พึ่งตนเอง
ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ส่วนการที่จะดีหรือชั่วนั้นอยู่ที่การกระทําของตนเองมิได้อยู่ที่ชาติ
กําเนิด
3. มีความ สันโดษ มักน้อย พอใจในสิ่งที่มีอยู่ คนไทยไม่มีนิสัยดิ้นรน
ทะเยอทะยานที่จะเอา อย่างคนอื่น ถือเสียว่าความสําเร็จ ความยากจน ความร่ํารวย เป็นเรื่อง
ของบุญวาสนา ทุกคนอาจมีความสุข ได้เท่าเทียมกันทั้งนั้น เป็นเรื่องของจิตใจ
4. การทําบุญและการประกอบการกุศล คนไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อในเรื่องกรรม
และการ เวียนว่ายตายเกิด คนไทยนิยมทําบุญ ประกอบกุศลกรรม โดยมีความเชื่อว่าการ
ประกอบกรรมดี เป็น ความสุขทางใจ เป็นการสะสมกุศลกรรมในปัจจุบัน เพื่อหวังจะได้รับ
ผลประโยชน์ในอนาคต