Page 79 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 79

74





                  เนื้อหาสาระ (Content)




           4.1 คุณธรรม




                  4.1.1 ความหมายของคุณธรรม

                         คุณธรรมประกอบด้วย คุณ แปลว่า ประโยชน์ และธรรม แปลว่า ความประพฤติ

           ที่พึงประสงค์ ทั้งคุณธรรมและจริยธรรมเป็นคําร่วม ซึ่งพระเทวินโท (2544) อธิบายคําว่าธรรมว่า

           หมายถึง ความจริง ความประพฤติดี ความถูกต้อง ความชอบ คําสั่งสอน
                         ดวงเดือน พันธุนาวิน (2538) ให้ความหมายของ คุณธรรม หมายถึง สิ่งที่บุคคล

           ยอมรับว่า เป็นสิ่งดีงาม เป็นประโยชน์มากมายและมีโทษน้อย

                         ประภาศรี สีทอําไพ (2543) ให้ความหมายของ คุณธรรม หมายถึง หลักจริยธรรม
           ที่สร้าง ความรู้สึกชอบชั่วดี มีคุณงามความดีภายในจิตใจอยู่ในขั้นสมบูรณ์จนเต็มเปี่ยมไปด้วย

           ความสุขความยินดี

                         คุณธรรม (Virtue) มีความหมายตามพจนานุกรมว่า “สภาพคุณงามความดี” เป็น

           ลักษณะ หรือคุณสมบัติทางบวกที่คิดว่าดีงาม ทางศีลธรรม
                         สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2527) คุณธรรม หมายถึง ความดีงาม ความงาม ความ

           ซื่อสัตย์ ความพอดี ความอดทน ขยันหมั่นเพียร

           พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตสถาน (2533 : 190) ได้ให้ความหมายของคุณธรรม หมายถึง

           สภาพคุณงามความดีหรือหน้าที่อันพึงอยู่ในตัว
                         ลิขิต ธีรเวคิน (2548) ได้กล่าวไว้ว่าคุณธรรม คือ จิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล

           ศาสนา และ อุดมการณ์เป็นดวงวิญญาณของปัจเจกบุคคล และสังคมด้วยปัจเจกบุคคลต้องมี

           วิญญาณ สังคมต้องมีจิต วิญญาณ คุณธรรมของปัจเจกบุคคลอยู่ที่การขัดเกลา เรียนรู้จากพ่อแม่
           สถาบันการศึกษา ศาสนา พรรค การเมือง และองค์การของรัฐ

                         รองศาสตราจารย์ ดร ทิศนา แขมมณี (2546 : 4) ได้ให้ความหมายไว้ว่าคุณธรรม

           หมายถึง คุณลักษณะหรือสภาวะภายในจิตใจของมนุษย์ที่เป็นไปในทางที่ถูกต้อง ดีงาม ซึ่งเป็น
           ภาวะนามธรรมอยู่ในจิตใจ

                         จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่า คุณธรรม คือ หลักความดี ความงาม ความ

           ถูกต้อง ซึ่งจะ แสดงออกโดยการกระทํา ทางกาย วาจา และจิตใจ ของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นหลัก
           ประจําใจในการประพฤติ ปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัย เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นเสมอ
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84