Page 97 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 97
92
เนื้อหาสาระ (Content)
5.1 ความหมายของค่านิยม
ค่านิยมมาจากคําในภาษาอังกฤษว่า “Value” และมาจากคําสองคํา “ค่านิยม” เมื่อคํา
สองคํารวมกัน แปลว่า การกําหนดคุณค่าที่เราต้องการทําให้เกิดคุณค่า คุณค่าดังกล่าวมีทั้งคุณค่า
แท้และคุณค่าเทียม ซึ่ง คุณค่าแท้เป็นคุณค่าที่สนองความต้องการในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่วน
คุณค่าเทียม หมายถึง คุณค่าที่ สนองความต้องการอยากเสพสิ่งปรนเปรอซึ่งคู่คุณธรรม
ค่านิยม หมายถึง ความคิด (Idea) ในสิ่งที่ควรจะเป็นหรือสิ่งที่ถูกต้องพึงปฏิบัติ มีความสําคัญและ
ความสุขใจ เป็นสิ่งที่คนปรารถนาจะได้หรือจะเป็นและความสุขที่จะเป็นเจ้าของ
ค่านิยม หมายถึง ความเชื่อว่าอะไรดีไม่ดี อะไรควรไม่ควร เช่น เราเชื่อว่าการขโมยทรัพย์
ของผู้อื่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เป็นสิ่งไม่ดี ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งที่ดี
ก่อ สวัสดิ์พาณิช (2535) ได้กล่าวว่า ค่านิยมเป็นความคิด พฤติกรรม และสิ่งที่คนใน
สังคมเห็นว่ามี คุณค่าจึงยอมรับมาปฏิบัติ และหวงแหนไว้ระยะหนึ่ง ค่านิยมมักเปลี่ยนแปลงไป
ตามกาลสมัยและความคิด ของคนในสังคม
พนัส หันนาคินทร์ (2524) กล่าวถึงความหมายว่า ค่านิยมเป็นการยอมรับและพร้อมที่จะ
ปฏิบัติตาม คุณค่าที่คนหรือกลุ่มคนในสังคมมีต่อสิ่งต่าง ๆ อาจเป็นวัตถุ ความคิด หรือการกระทํา
ในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม ทั้งนี้ได้มีการประเมินค่าจากทัศนะต่าง ๆ โดยรอบคอบแล้ว
Phenix(1992) นิยามว่า ค่านิยม คือ ความชอบ ความสามารถในการจําแนกให้เห็นความ
แตกต่าง ของความชอบกับความไม่ชอบได้โดยการประเมินผล
จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่กลุ่มสังคมหนึ่ง ๆ เห็นว่าเป็นสิ่ง
ที่มีค่าควร แก่การกระทํา น่ากระทํา น่ายกย่อง เห็นว่าถูกต้อง หรือค่านิยม เป็นวัฒนธรรมที่
กําหนดพฤติกรรมของ สมาชิกในสังคมโดยส่วนรวม ซึ่งสมาชิกในสังคมถือว่ามีค่า พึงปรารถนา
ต้องการให้เป็นเป้าหมายของสังคม และปลูกฝังให้สมาชิกของสังคมยึดถือเป็นเป้าหมายในการ
ดําเนินชีวิต หรือควรหลีกเลี่ยง เช่น ความยากจน ซึ่งสิ่งมีคุณค่าน่าปรารถนา หรือนําความสุขมา
ให้มีทั้งเป็นวัตถุและไม่เป็นวัตถุ
ค่านิยม หมายถึง แบบอย่างพฤติกรรมที่พึงปรารถนาโดยสังคมถือว่ามีคุณค่าแบบอย่าง
พฤติกรรมจะ เกี่ยวข้องกับวัตถุหรือมิใช่วัตถุก็ได้ ค่านิยมในสังคมต่าง ๆ จะผิดแผกกันไป ค่านิยม
ไทยในเรื่องความกตัญญ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2525:366)