Page 72 - demo
P. 72
33) มะขาม
ชื่อพื้นเมือง : หมากแกง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ตะลูบ(ชาวบน-นครราชสีมา),
ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica L.
ชื่อวงศ์ : Leguminosae
ชื่อสามัญ : Tamarind
ถิ่นก าเนิด : ทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน ต่อมามีการน าเข้ามาในประเทศแถบเขต
ร้อนของเอเชียและประเทศแถบลาตินอเมริกา และในปัจจุบันมีมากในเม็กซิโก
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระ
และหนา สีน้ าตาลอ่อน
ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน
ปลายใบและโคนใบมน
ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี 10-15 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก
กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก
ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา
สีน้ าตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก
ประโยชน์ : ใช้เป็นยารักษาโรค เช่น ราก แก้ท้องร่วง สมานแผล รักษาเริม และงูสวัด /
ดอกสด เป็นยาลดความดันโลหิตสูง / เมล็ดในสีขาว เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม
ในล าไส้ พยาธิเส้นด้าย เป็นต้น
65