Page 7 - group5sec2000153
P. 7
1
บทน ำ
1.1 ที่มำและควำมส ำคัญ
ในปัจจุบันกระแสความนิยมผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่มาจากธรรมชาติและเป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อมมีเพิ่มมากขึ้น ทั้งสินค้าอุปโภค บริโภค โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจ าวันอย่างเสื้อผ้า
เริ่มหันน าเอาสีจากธรรมชาติมาใช้ในการย้อมผ้ามากขึ้น เช่น ผ้าที่ย้อมด้วยคราม ครั่ง ใบไม้ แก่นไม้
ต่างๆ ฯลฯ จากเดิมที่ใช้สีเคมีสังเคราะห์จากโรงงานอุตสาหกรรมในการย้อมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบางครั้ง
อาจมีสารเคมีตกค้างอยู่ ท าให้ส่งผลเสียต่อร่ายกายของมนุษย์ได้ คนยุคใหม่จึงพยายามหันกลับมาให้
ความส าคัญกับปัญหานี้โดยการคิดและออกแบบสินค้าใหม่ๆที่ตอบโจทย์ความต้องการ
บ้านนาเชือก ต าบลแร่ อ าเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร เป็นหมู่บ้านที่ห่างจากตัวอ าเภอพัง
โคน ประมาณ 24 กิโลเมตร โดยท าเลที่ตั้งของหมู่บ้านติดกับล าน้ าอูน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบ
อาชีพเลี้ยงสัตว์ (โค กระบือ) เพราะลักษณะทางภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านนั้นเป็นที่ราบสูง ไม่สามารถ
ปลูกข้าวได้ ถ้าปีไหนฝนแล้งก็จะไม่มีน้ าท านา ปีไหนฝนชุกน้ าก็จะท่วม จึงท าให้กลุ่มคนวัยแรงงานที่
อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้ไปท างานที่กรุงเทพมหานครฯ หรือตามหัวเมืองใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แต่ด้วยพิษของเศรษฐกิจท า ให้กลุ่มคนเหล่านั้นหนีจากเมืองใหญ่กลับออกมาท ามาหากินที่บ้านเกิด
บ้านนาเชือกเป็นหมู่บ้านที่มีความ สามัคคี มีผู้น าที่เข้มแข้ง และมีความร่วมมือกันภายในชุมชน ใน
รูปแบบ “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน ชาวบ้านในบ้านนาเชือกเองจึงต้องการการสร้างกลุ่มส่งเสริมอาชีพ
ให้กับชุมชนบ้านนาเชือก ซึ่งเดิมทีภายในชุมชนมีอาชีพเสริมคือการทอผ้าที่ย้อมผ้าด้วยสีจากธรรมชาติ
จากเปลือกไม้ แต่การใช้เปลือกไม้นั้นต้องท าลายต้นไม้ ฉะนั้นชาวบ้านจึงเกิดความคิดใหม่ในการ
ต้องการสีธรรมชาติที่แตกต่างและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการสร้างจุดขายและสร้าง
เอกลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์ภายชุมชน จึงเกิดเป็นภูมิปัญญาการย้อมผ้าด้วย “มูลควาย” ซึ่งมีสันแปลก
ตา น่าสนใจ และไม่มีที่ใดท ามาก่อน มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าทอย้อมสีธรรมชาติมูลควาย ภายใต้
แบรนด์ “ก็ฝ้าย” จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน
รายวิชา 000153 ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
โดยใช้การเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อนักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญา
ท้องถิ่นตามบริบทแวดล้อมทางสังคม ความสัมพันธ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการด ารงชีวิตและ
พัฒนาการของชุมชน ผลกระทบทางสังคมและกระแสโลกาภิวัตน์กับการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาก
ยิ่งขึ้น นอกจากนี้คณะผู้จัดท ายังได้เล็งเห็นถึงปัญหาคุณค่าของควายเริ่มลดน้อยลงไปในปัจจุบันนี้
ถึงแม้ปัจจุบันคุณค่าบางส่วนอาจลดลงไปแต่มูลควายก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีประโยชน์ ด้วยเหตุนี้
เองคณะผู้จัดท าจึงมีความสนใจที่จะศึกษา “ภูมิปัญญาการย้อมผ้าจากมูลควาย” จึงได้มีการวางแผน
และเตรียมตัวลงพื้นที่ เพื่อศึกษาและจัดเก็บข้อมูลอันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มส่งเสริมอาชีพหรือ
ผู้ที่สนใจ โดยจะน าข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ผลิตผ้าย้อมมูลควายบ้านนาเชือกไปจัดท าเป็น
วิดีทัศน์เผยแพร่ภูมิปัญญาการย้อมผ้าจากมูลควายสู่สาธารณะต่อไป