Page 10 - ED211
P. 10

กระบวนทัศน์จึงไม่ได้เป็นการเปลี่ยนวิธีคิด  วิธีปฏิบัติ  วิธีให้คุณค่าชุดใหม่เท่านั้น  หากแต่เป็นการ

                   ปรับเปลี่ยนทัศนะหรือความคิดพื้นฐานในการมองโลก  มองชีวิตหรือโลกทัศน์  การปรับเปลี่ยนกระบวน

                   ทัศน์จึงเป็นเรื่องของช่วงเวลาหรือยุคสมัย เช่นเดียวกับทัศนะของคูห์นและคาปร้า


                   การศึกษา

                               เช่นเดียวกับค าว่ากระบวนทัศน์  การศึกษาถูกนิยามในความหมายที่หลากหลาย  อันเป็นผล

                   มาจากความแตกต่างของทัศนะหรือความเชื่อที่บุคคลและสังคมยึดถือ  ทัศนะหรือความเชื่อที่ท าให้เกิดข้อ
                   ถกเถียงเกี่ยวกับความหมายของการศึกษามาอย่างยาวนานว่าการศึกษาควรหมายถึงสิ่งใด ก็คือทัศนะที่มี

                   ต่อธรรมชาติของมนุษย์ที่แตกต่างกัน  เพ็ญสิริ จีระเดชากุล (2533: 19-20) สรุปว่าความหมายของ

                   การศึกษาที่อาจเรียกได้ว่าเป็นต านานทางการศึกษา ซึ่งเป็นความหมายที่สะท้อนถึงทัศนะที่มีต่อธรรมชาติ
                   ของมนุษย์ที่แตกต่างกันมี 3 แบบ คือ  1) ทัศนะที่มองว่าการศึกษาเป็นกระบวนการช่วยให้มนุษย์น า

                   ความสามารถที่มีอยู่ภายในตนเองออกมาใช้อย่างดีที่สุด (Education as Manifestation) ซึ่งเป็นทัศนะที่

                   เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีความสามารถอยู่ในตนเอง  การศึกษาจึงต้องช่วยพัฒนาความสามารถที่อยู่ภายใน
                   ออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้  2) การศึกษาในฐานะที่เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้จากภายนอก

                   (Education as Acquisition)  เป็นทัศนะที่เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับจิตที่ว่างเปล่าเหมือนผ้าขาว

                   การศึกษาจึงต้องช่วยให้สามารถแสวงหาความรู้จากโลกภายนอก  หรือถ่ายทอดความรู้หากไม่สามารถ
                   แสวงหาความรู้ได้เอง และ 3) ทัศนะที่มองว่าการศึกษาเป็นกระบวนการปะทะสังสรรค์ระหว่างบุคคลกับ

                   สิ่งแวดล้อมภายนอก (Education as Transaction)  เป็นทัศนะที่เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักยภาพที่จะ

                   พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม  และเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมก็ย่อมมีผลกระทบต่อบุคคลด้วย  การศึกษาจึง
                   ต้องเป็นการให้และรับระหว่างผู้เรียนกับสิ่งแวดล้อม

                              นอกจากความแตกต่างของทัศนะที่มีต่อธรรมชาติของมนุษย์แล้ว  ความแตกต่างของทัศนะ

                   ต่อสิ่งที่ถือว่ามีค่าสูงสุด  ท าให้นักการศึกษาบางคนมองการศึกษาในความหมายที่แตกต่างกัน  ดังเช่น
                   กฤษณมูรติ (Krishnasmurti.  1895-1986) นักปรัชญาที่สนใจการศึกษา ซึ่งมองว่าการศึกษาคือการ

                   ค้นพบความหมายของชีวิต  เข้าใจกระบวนการทั้งหมดของชีวิต  เข้าใจความหมายของชีวิต  และรู้จัก

                   ตนเอง  การศึกษาจึงต้องช่วยเสริมสร้างปัญญา  เพราะปัญญาคือความสามารถที่จะค้นพบ  ท าให้คิดได้
                   อย่างอิสระ  ซึ่งหมายถึงการท าให้ผู้เรียนปราศจากความกลัวต่อสิ่งใด ๆ เพื่อเข้าใจถึงสัจจะและสาระของ

                   การมีชีวิตอยู่  ดังบทสนทนาระหว่างกฤษณมูรติกับสมาชิกของมูลนิธิและครูโรงเรียนหุบเขาฤาษี  ความ

                   ตอนหนึ่งว่า


                               ตั้งต้นที่โรงเรียนและสืบเนื่องตลอดชีวิต  ไม่มีที่สิ้นสุด  จงมอง  เฝ้ามองมัน  เธอให้การศึกษา

                               เด็กผู้ชายพวกนั้นในวิชาภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์และวิชาอื่น ๆ เธอก าลังให้การศึกษา





                                                        เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 4
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15