Page 15 - ED211
P. 15

ตารางที่ 1 เป้าหมายของการศึกษาจ าแนกตามยุคสมัย (ต่อ)

                    เป้าหมายของ         ยุคเกษตรกรรม             ยุคอุตสาหกรรม             ยุคความรู้
                     การศึกษา

                     เพื่อสืบทอด  - ถ่ายทอดความรู้และวัฒนธรรม -  เรียนรู้ความรู้ด้านการค้า  - เรียนรู้ความรู้ในสาขาอย่าง
                   จารีตและคุณค่า   เกษตรกรรมไปยัง            ช่าง และวิชาชีพ และถ่าย   รวดเร็วและประยุกต์ใช้หลัก
                                 - คนรุ่นหลัง                 ทอดสู่คนรุ่นหลัง        วิชานั้นข้ามสาขาเพื่อสร้าง

                                 - อบรมเลี้ยงดูลูกหลานตามจารีต -  ธ ารงคุณค่าและวัฒนธรรม  ความรู้ใหม่และนวัตกรรม
                                   ประเพณีของชนเผ่าศาสนาและ   ของตนในท่ามกลางความ - สร้างเอกลักษณ์ของคนจาก
                                   ความเชื่อของพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา   แตกต่างหลากหลายของ  จารีตวัฒนธรรมที่แตกต่าง

                                   ยาย                        ชีวิตคนเมือง            หลากหลาย และเคารพ
                                                            -  เชื่ อ ม โ ย ง กั บ ค น ใ น  จารีตและวัฒนธรรมอื่น
                                                              วัฒนธรรมอื่นและภูมิภาค - เข้ าร่วม กิ จก รรม ข้ าม

                                                              อื่น ตามการขยายตัวของ   วัฒนธรรมผสมผสานจารีตที่
                                                              การคมนาคมและการ         แตกต่างหลากหลายและ
                                                              สื่อสาร                 ความเป็นพลเมืองโลกสู่

                                                                                      จารีตใหม่ และสืบทอดสู่คน
                                                                                      รุ่นต่อ ๆ ไป
                   ที่มา: วิจารณ์ พาณิช.  2555.  วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21.  กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

                   หน้า 11-14

                   ปรัชญาการศึกษา

                               ปรัชญาการศึกษา เป็นการน าค าว่าปรัชญา และการศึกษา มารวมกัน  ปรัชญาเป็นศัพท์ที่ถูก

                   บัญญัติขึ้นเพื่อใช้เป็นค าแปลของ Philosophy  ซึ่งตามรูปศัพท์ภาษาอังกฤษมาจากภาษากรีกว่า
                   Philosophia หมายถึง Love of Wisdom ท าให้ค าว่าปรัชญามีความหมายไม่สอดคล้องกับ Philosophy

                   เพราะปรัชญาเป็นค าที่มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต 2 ค า คือ ปร ซึ่งแปลว่าไกล ล่วงพ้น สูงสุด

                   ประเสริฐ และค าว่า ชญา ซึ่งหมายถึงรู้   ค าว่าปรัชญา จึงหมายถึงความรู้อันสูงสุด (กิติมา ปรีดีดิลก.
                   2520: 1-2) หรือความรู้อันหมดข้อสงสัย ซึ่งราชบัณฑิตยสถานนิยามว่าหมายถึงวิชาว่าด้วยหลักแห่ง

                   ความรู้และความจริง (พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน.  2554)

                               ความหมายตามรูปศัพท์ที่ไม่สอดคล้องกันสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างที่ส าคัญประการ
                   หนึ่งระหว่างปรัชญาตะวันออกและตะวันตก  นักปรัชญาการศึกษาบางคน (เพ็ญสิริ จีระเดชากุล.  2533:

                   8-9) มองว่าตามความหมายทางตะวันออก  ปรัชญาน่าจะหมายถึงแนวทางหรือหลักการในการด าเนินชีวิต

                   เพราะมุ่งที่จะแสวงหาแนวทางปฏิบัติในการด ารงชีวิตมากกว่าที่จะพิจารณาถึงความเป็นเหตุเป็นผลของ
                   ความคิด ส่วนปรัชญาตะวันตกมีความหมายที่แตกต่างออกไป  เพราะมุ่งเน้นการแสวงหาปัญญา  ความ

                   เฉลียวฉลาด  แสวงหาความรู้  โดยอาศัยการคิดวิเคราะห์พิจารณาไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล  ท าให้ค าตอบ




                                                        เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 9
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20