Page 16 - ED211
P. 16

ของปรัชญามีอยู่มากมาย  จึงอาจสรุปความหมายของปรัชญาได้ 2 ด้านคือ  1) ด้านกิจกรรมหรือวิธีการ

                   ซึ่งปรัชญาน่าจะหมายถึง 1.1) การวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล  เพื่อสร้างความกระจ่างให้กับสิ่งที่ยัง

                   ก ากวมหรือเป็นปัญหา และ 1.2) กระบวนการในการคิด  วิเคราะห์วิจารณ์  สังเคราะห์  ตรวจสอบและ
                   ประเมินอย่างมีระบบมีเหตุมีผล  และ 2) ด้านเนื้อหาหรือผลที่ได้จากกระบวนการในการคิด  วิเคราะห์

                   วิจารณ์  สังเคราะห์  ตรวจสอบและประเมินอย่างมีระบบมีเหตุมีผล  ปรัชญาน่าจะหมายถึงความเชื่อหรือ

                   แนวความคิดที่มีเหตุผล (เพ็ญสิริ จีระเดชากุล.  2533: 1-9)
                               ส่วนปรัชญาการศึกษามีความหมายที่หลากหลายเช่นเดียวกับค าว่าปรัชญาและการศึกษา

                   เนลเลอร์ (Kneller.  1971: 202) บรรณาธิการของหนังสือ Foundations of Education พิมพ์ครั้งที่ 3

                   ในปี คศ.1971 มองว่าปรัชญาการศึกษาเป็นการน าปรัชญาทั่วไปหรือปรัชญาที่เป็นทางการ (Formal
                   Philosophy) มาใช้กับการศึกษาเพื่อท าให้มองปัญหาการศึกษาด้วยมุมมองทางปรัชญา เพราะเราไม่

                   สามารถวิพากษ์นโยบายการศึกษาหรือขบคิดเกี่ยวกับนโยบายใหม่ ๆ ทางการศึกษาได้  หากไม่พิจารณา

                   ปัญหาการศึกษาในฐานะปัญหาทางปรัชญา  ซึ่งได้แก่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ  1) ธรรมชาติของชีวิตที่ดีซึ่ง
                   การศึกษาควรส่งเสริมให้เกิดขึ้น   2) ธรรมชาติของตัวมนุษย์เอง เพราะมนุษย์คือคนที่จะได้รับการศึกษา

                   3) ธรรมชาติของสังคม เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคม  และ 4) ธรรมชาติของความเป็นจริง

                   สูงสุด (Ultimate Reality) ซึ่งความรู้ทั้งหมดพยายามแสวงหาค าตอบ
                               ในหนังสือปรัชญาการศึกษา เล่ม 1: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา  กิติมา ปรีดี

                   ดิลก (2520: 72-73) มองว่าเมื่อน าค าว่าปรัชญา  และการศึกษามารวมกันจะท าให้ได้ความหมายหลาย

                   รูปแบบ และสรุปความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับปรัชญาว่าเมื่อน าความรู้ทางด้านปรัชญามาใช้กับ
                   การศึกษานั้น  ปรัชญาจะช่วยในการตั้งจุดมุ่งหมายของการศึกษา  ช่วยในการตีความค าว่ามนุษย์

                   ธรรมชาติของมนุษย์  ช่วยในการศึกษาเกี่ยวกับสังคม  ธรรมชาติและลักษณะของสังคม  นอกจากนั้น
                   วิธีการทางปรัชญาบางอย่าง  เช่น  การพิจารณาตัดสินคุณค่า  ความดีความงามช่วยในการพิจารณาตัดสิน

                   คุณค่าทางการศึกษา

                               ส่วนสมบูรณ์ พรรณาภพ (2525: 52) สรุปความหมายของปรัชญาการศึกษาไว้ 4 ประเด็น

                   ดังนี้  1) ปรัชญาการศึกษามีฐานะเป็นปรัชญาประยุกต์แขนงหนึ่ง  เนื่องจากน าแนวคิดที่ส าคัญของปรัชญา
                   แม่บทมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา  2) แม้ปรัชญาการศึกษาต้องอาศัยปรัชญาแม่บทแต่จะต้องอาศัย

                   การพิจารณาไตร่ตรอง  มีการเรียบเรียง  ร้อยกรองแนวความคิดต่าง ๆ จนเป็นระบบจึงจะสามารถ
                   น ามาใช้ในการจัดการศึกษาได้  3) ปรัชญาการศึกษาท าหน้าที่เป็นแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจในการตัดสินใจ

                   เลือกวิธีการจัดการศึกษาตามที่ปรารถนา  และ 4) ถ้ายอมรับว่าการศึกษาคือกิจกรรมส าหรับ

                   ชีวิตประจ าวัน  ปรัชญาการศึกษาก็ย่อมเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับโลกทัศน์หรือกลุ่มทัศนคติของคนทุกคน
                   ต่อมาในการอธิบายความหมายของค าว่าปรัชญาการศึกษาในสารานุกรมศึกษาศาสตร์  สมบูรณ์ พรรณา

                   ภพ (2558: 27-30) ได้แบ่งความหมายของปรัชญาการศึกษาออกเป็น 4 นัย  คือ 1) นัยตามแหล่งก าเนิด






                                                       เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 10
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21