Page 17 - ED211
P. 17

สามแหล่งคือทัศนะส่วนบุคคล  ทัศนะส่วนรวม  และทัศนะบุคคลขั้นวิชาชีพ  2) นัยตามค าศัพท์และ

                   ประวัติของค า  ปรัชญาการศึกษาหมายถึงความรู้สูงสุดส าหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการจัด

                   การศึกษา  อาจจะเป็นความรู้สูงสุดทั้งของส่วนบุคคลและส่วนรวม  หรือหมายถึงหมวดความรู้ที่จ าเป็น
                   และเป็นส่วนหนึ่งของหมวดวิชาการศึกษาขั้นวิชาชีพ  3) นัยตามหมวดวิชา  ปรัชญาการศึกษาหมายถึง

                   รายวิชาที่เกิดจากการน าหลักปรัชญาบางประการมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา  และ 4) นัยตามวิธี

                   ทางปรัชญา 3 วิธี คือ  1) นัยตามวิธียึดลัทธิ (Dogmatism) ปรัชญาการศึกษามีฐานะเป็นปรัชญาประยุกต์
                   แขนงหนึ่ง  เนื่องจากน าปรัชญาแม่บทมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา  2) นัยตามวิธีวิบัติ (Skepticism)

                   เนื่องจากเป็นปรัชญาการศึกษาที่เกิดจากความสงสัย  จึงไม่ยึดถือปรัชญาแม่บทลัทธิใด ๆ ดังนั้นปรัชญา

                   การศึกษาตามนัยวิธีวิบัติ จึงหมายถึง ผลรวมของค าแนะน าหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวคิดหรือทฤษฎี
                   ต่าง ๆ ส าหรับน ามาใช้เป็นเครื่องมือ (Instruments) ในการปรับปรุงการจัดการศึกษา  และ 3) นัยตามวิธี

                   วิภาษ (Dialecticism)  เนื่องจากวิธีวิภาษแบ่งล าดับขั้นของการปฏิบัติเป็นสามขั้นคือ  บทเสนอ (Thesis)

                   บทแย้ง (Antithesis) และบทสรุป (Synthesis)  ปรัชญาที่เกิดขึ้นจากวิธีวิภาษจึงเป็นการเลือกสรรส่วนที่ดี
                   ของปรัชญาการศึกษาเดิมที่ยึดถือและปรัชญาการศึกษาอื่นที่แตกต่างหรือขัดแย้งกับปรัชญาการศึกษาเดิม

                   เพื่อประมวลเป็นปรัชญาการศึกษาใหม่  ซึ่งนัยตามความหมายนี้  ปรัชญาการศึกษาคือผลรวมของทฤษฎี

                   การศึกษา (Meta-Theory of Education)
                               เมื่อพิจารณาความหมายของปรัชญาการศึกษาจากลักษณะและบทบาท  นักปรัชญา

                   การศึกษาบางคน  (เพ็ญสิริ  จีระเดชากุล.  2533: 21-28)  แบ่งความหมายของปรัชญาการศึกษาออกเป็น

                   2 แบบคือ  1) ปรัชญาการศึกษาที่เป็นระบบ ได้แก่ การรวบรวมรายละเอียดของการคิดเก็งความจริงอย่าง
                   มีระบบ หรือการเลือกใช้ปรัชญาที่เป็นระบบ เช่น สัจนิยม ปฏิบัตินิยม  หรือความคิดของนักปรัชญาบาง

                   ท่านมาเป็นพื้นฐานในการจัดการศึกษา  และ 2) ปรัชญาการศึกษาที่เป็นกิจกรรมทางการศึกษา ซึ่งแยก
                   ออกเป็น 2  กิจกรรมคือ  1) การใช้วิธีการวิเคราะห์ของปรัชญาเพื่อสร้างความกระจ่างให้กับสิ่งที่ยังเป็น

                   ปัญหา  มีความก ากวม  ขัดแย้งหรือไม่ลงรอยกัน  และ 2) การใช้วิธีกระบวนการทางปรัชญา  คือ

                   กระบวนการในการคิด  วิเคราะห์  วิจารณ์  สังเคราะห์  ตรวจสอบและประเมินอย่างมีระบบมีเหตุผล  มา

                   ศึกษาปัญหาทางการศึกษา  ศึกษาปัญหา  สภาพและความคาดหวังของสังคมแล้วสรุปผลไปสังเคราะห์กับ
                   พื้นฐานความคิดทางปรัชญา  สังคม  วัฒนธรรม  การเมือง  เศรษฐกิจ ฯลฯ เพื่อเสนอเป็นภาพรวมของ

                   การศึกษาหรือปรัชญาการศึกษาของสังคมนั้น
                               แม้ว่าปรัชญาการศึกษามีความหมายที่หลากหลายทั้งในฐานะเป็นปรัชญาประยุกต์  กิจกรรม

                   ทางการศึกษา  รายวิชาที่น าหลักปรัชญาบางประการมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา  และทฤษฎีทั่วไป

                   ทางการศึกษา  แต่ในรายวิชานี้  พิจารณาปรัชญาการศึกษาโดยมุ่งท าความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงของ
                   ปรัชญากับแนวคิดของปรัชญาการศึกษาในฐานะเป็นความเชื่อพื้นฐานของการจัดการศึกษาในแต่ละยุค

                   สมัย






                                                       เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 11
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22