Page 42 - ED211
P. 42
ชีพอยู่ในชุมชน (อุษณีย์ ธโนศววรย์. 2546) แต่สถานการณ์นี้ได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการน าแนวคิดการ
พัฒนาไปสู่ความทันสมัยมาก าหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ
แนวคิดและนโยบายการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย
ทฤษฎีการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย (Modernization Theory) เป็นทฤษฎีที่อธิบาย
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยใช้แนวคิดความทันสมัยในการวิเคราะห์ เป็นทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการ
ก าหนดแนวทางในการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกา เอเซียและลาตินอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่
เคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตกและได้รับเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงในช่วง
ทศวรรษ 1950-1960 ก่อนที่จะถูกโต้แย้งโดยนักคิดจากทฤษฎีพึ่งพิง (Dependency Theory) ที่
พัฒนาขึ้นในลาตินอเมริกาในช่วงปลายทศวรรษ 1960-ต้นทศวรรษ 1970 เนื่องจากตระหนักถึงปัญหาที่
เกิดขึ้นจากการพัฒนาประเทศตามทฤษฎีการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย
ทฤษฎีการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัยเสนอว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ประสบ
ความส าเร็จในการปรับเปลี่ยนจากภาวะดั้งเดิมไปสู่ความทันสมัย ซึ่งทั้งสองภาวะนี้ปรากฏอยู่ในทุกมิติ
และทุกระบบของสังคม โดยประเทศที่พัฒนาแล้วได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในทั้งในเรื่องค่านิยม
เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และโครงสร้างทางสถาบันต่าง ๆ ท าให้สามารถบรรลุเป้าหมายของการสร้างภาวะ
ทันสมัยทางเศรษฐกิจ คือการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ผลผลิตต่อหัวของประชากรเพิ่มสูงขึ้น และ
สามารถบรรลุเป้าหมายของการสร้างภาวะทันสมัยทางการเมือง คือ การมีระบอบการปกครองแบบ
ประชาธิปไตย รวมทั้งสามารถบรรลุเป้าหมายของการสร้างภาวะทันสมัยทางสังคม คือ การท าให้
ปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคมด าเนินไปโดยใช้หลักปฏิบัติที่เป็นสากล หรือเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่สังคม
ก าหนด และใช้หลักเหตุผลแทนการเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือชะตาลิขิต (นภาภรณ์ หะวานนท์. 2540: 36-
43)
รอสทาว (Rostow. 1960) ซึ่งเสนอทฤษฎีล าดับขั้นของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 5
ขั้น ได้แก่ ขั้นสังคมแบบดั้งเดิม(The Traditional Society) ขั้นเตรียมพร้อมเพื่อทะยานขึ้นทาง
เศรษฐกิจ (The Precondition for Take Off) ขั้นที่มีการทะยานขึ้นทางเศรษฐกิจ (The Take Off) ขั้น
ผลักดันไปสู่ความมั่งคงทางเศรษฐกิจ(The Drive to Maturity) และขั้นที่มีการบริโภคในระดับสูง (The
Age of High Mass Consumption) เชื่อว่าล าดับขั้นของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสากล ทุก
ประเทศจึงต้องผ่านล าดับขั้นเหล่านี้
ตามแนวคิดของรอสทาว ขั้นสังคมแบบดั้งเดิมเป็นขั้นสังคมเกษตรกรรม ความสัมพันธ์ของ
คนในสังคมอยู่บนฐานของครอบครัวและเครือญาติ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เป็นแบบยุคก่อนนิวตัน
(Pre-Newtonian) เช่นเดียวกับทัศนคติของคนที่มีต่อโลกทางกายภาพ ท าให้การขยายการผลิตเป็นไปได้
ยาก เพราะคนในสังคมมีความเชื่อในเรื่องโชคชะตา (A Long-Run Fatalism) ซึ่งหมายถึงความเชื่อว่า
เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 36