Page 43 - ED211
P. 43

โอกาสที่เป็นไปได้ที่จะเปิดให้กับลูกหลานไม่มีความแตกต่างไปจากโอกาสที่เปิดให้กับบรรพบุรุษ  ในช่วง

                   ปลายศตวรรษที่ 17 และต้นศตวรรษที่ 18  การน าความรู้ที่ได้จากวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในช่วงของการ

                   ปฏิวัติวิทยาศาสตร์ไปใช้ในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม  ท าให้ประเทศยุโรปตะวันตกเปลี่ยนผ่าน
                   จากขั้นสังคมแบบดั้งเดิมไปสู่ขั้นการทะยานขึ้นทางเศรษฐกิจ  แต่ส าหรับประเทศโลกที่สาม รอสทาวเชื่อว่า

                   เงื่อนไขดังกล่าวไม่ได้มาจากภายใน  หากแต่ต้องมาจากสังคมภายนอกที่มีความก้าวหน้ามากกว่า   เมื่อเข้า

                   สู่ขั้นที่สามซึ่งเป็นขั้นของการทะยานขึ้นทางเศรษฐกิจ   การเติบโตทางเศรษฐกิจจะกลายเป็นเงื่อนไขปกติ
                   ของสังคม  รายได้ประชาชาติจะเพิ่มจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10 หรือมากกว่า  เมื่อสังคมเข้าสู่ขั้นของ

                   การผลักดันไปสู่ความมั่งคงทางเศรษฐกิจ  จะมีการน าเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

                   ทั้งหมด  การผลิตมีความซับซ้อนและมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมากขึ้น  รายได้ประชาชาติจะเพิ่ม
                   เป็นร้อยละ 10-20  ขั้นสุดท้ายคือ ขั้นที่สังคมมีมวลชนที่มีการบริโภคในระดับสูง  ซึ่งจะบรรลุได้เมื่อคน

                   ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยเพียงพอที่จะบริโภคสินค้าอื่น ๆ นอกเหนือไปจากสินค้าที่ตอบสนองความต้องการ

                   พื้นฐาน  คือ อาหาร ที่อยู่อาศัยและเสื้อผ้า  (Rostow.  1960: 4-16)
                               เช่นเดียวกับประเทศส่วนใหญ่  แนวคิดการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัยมีอิทธิพลอย่าง

                   ส าคัญต่อการก าหนดแนวทางในการพัฒนาของประเทศไทย  ดังจะเห็นได้จากแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ

                   แห่งชาติ ฉบับที่ 1 ทั้งระยะที่ 1 และ 2   และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2-7  ที่วาง
                   นโยบายการพัฒนาประเทศโดยให้ความส าคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก  มีการเร่งรัดการ

                   เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  มุ่งเน้นการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก   โดยใช้

                   ทรัพยากรธรรมชาติและมนุษย์เป็นฐานในการสร้างรายได้และการมีงานท า  ก่อนที่จะหันมาให้ความส าคัญ
                   กับการพัฒนามนุษย์ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8   การให้ความส าคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลักท าให้

                   แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1  และ 2  มีการจัดสรรงบประมาณจ านวนมากรวมทั้งกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้าง
                   พื้นฐานทางเศรษฐกิจ อาทิ การพัฒนาระบบการคมนาคมและขนส่งทั่วประเทศเพื่อเชื่อมโยงระหว่าง

                   ภูมิภาคและเมือง  การพัฒนาระบบโทรคมนาคม   การพัฒนาพลังงานไฟฟ้า  การสร้างโรงเรียน

                   มหาวิทยาลัย  และโรงพยาบาลประจ าอ าเภอ  การเปิดรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ  รวมทั้ง

                   ก าหนดให้การเพิ่มขึ้นของรายได้ประชาชาติเป็นจุดหมายของการพัฒนาประเทศ   ดังข้อความตอนหนึ่งใน
                   แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5  ความว่า


                               ในระยะของการปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ได้

                               มีการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมในอัตราที่สูงมาก  ดังจะเห็นได้ว่าได้มีอุตสาหกรรมใหม่ ๆ

                               เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้า อีเลคโทรนิค โรงกลั่นน้ ามัน ยางรถยนต์ วัสดุก่อสร้าง เสื้อผ้า
                               ส าเร็จรูป กระดาษ เหล็ก นมข้นหวาน ประกอบรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์

                               ตลอดจนอุตสาหกรรมจากไม้ เครื่องเรือน เครื่องประดับ อัญมณี เป็นต้น เป็นที่ประจักษ์ชัด






                                                       เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 37
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48