Page 49 - ED211
P. 49
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาก าลังคนและเพื่อสร้างความทันสมัยแก่สังคมไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาและแนวคิดการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัยเห็นได้จาก
การที่รัฐจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาก าลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของระบบเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศเพื่อสร้างความทันสมัยให้แก่สังคม เนื่องจากคนถูกมองในฐานะที่เป็นเครื่องมือหรือปัจจัยการ
ผลิต จุดมุ่งหมายของการศึกษาจึงไม่ใช่การพัฒนาความเป็นมนุษย์ของผู้เรียนแต่ละคน หากแต่เป็นการ
พัฒนาคนเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การวิเคราะห์แผนพัฒนาการเศรษฐกิจ
แห่งชาติฉบับที่ 1 ทั้งสองระยะ จนถึงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พบว่า การ
จัดการศึกษาเพื่อเตรียมคนและพัฒนาก าลังคนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ถูกก าหนดเป็นนโยบายหรือทิศทางหรือหลักการ และมีการก าหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหรือ
ตัวชี้วัด รวมทั้งก าหนดแนวทางหรือมาตรการอย่างชัดเจนในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1
ระยะที่สอง ในปี พ.ศ.2507-2509 จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 พ.ศ.2535-
2539 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่จะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2542 ท า
ให้การจัดการศึกษาในช่วงเวลานี้ มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กล่าวคือ
มีการขยายการศึกษาภาคบังคับเพื่อรับนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น
ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และมัธยมศึกษาตอนต้น ท าให้การศึกษาภาคบังคับเพิ่มจาก 4 ปีเป็น 6 (7)
ปีและ 9 ปีตามล าดับ รวมทั้งมีการขยายและปรับปรุงการศึกษาระดับกลางทั้งในด้านสามัญและ
อาชีวศึกษา ขยายการศึกษาขั้นอุดมศึกษา มีความพยายามเน้นการผลิตนักศึกษาแขนงวิศวกรรม
วิทยาศาสตร์ และวิชาชีพส าคัญ ปรับระบบการศึกษาเป็น 6 : 3 : 3 เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5
ในปีพ.ศ.2529 การศึกษาภาคบังคับครอบคลุมประชากรวัยเรียนร้อยละ 96 (แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 หน้า
25) หรือเด็กที่มีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์เกือบทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในระบบโรงเรียน
การพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้คนเป็นเครื่องมือหรือปัจจัยการผลิตถูกมองในเชิงลบใน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2540-2544 จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับปัจจุบัน คือ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 ซึ่งท าให้การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา
ก าลังคนลดความส าคัญลง ขณะที่การจัดการศึกษาโดยค านึงถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์และพัฒนา
มนุษย์ทุกคนอย่างเต็มตามศักยภาพ เพื่อให้เป็นคนดีมีคุณธรรม และมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีจิตส านึกและมีบทบาทในการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่ดีงาม ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นกลายเป็นเป้าหมายของการศึกษา (ดู
ตารางที่ 3)
เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 41