Page 11 - ED 211
P. 11

พวกเขา  เพื่อว่าพวกเขาจะสามารถพูดภาษาได้  เพื่อว่าพวกเขาจะได้ปรับตัวเองในที่ท างาน

                               ได้  อย่างไรก็ตาม หากว่าเธอให้การศึกษาพวกเขาในทางศีลธรรม  จริยธรรม  ความงามและ

                               สุนทรียะ  เพื่อว่าพวกเขาจะไม่เพียงค้นพบและเข้าใจคณิตศาสตร์  แต่จะค้นพบตัวของเขา
                               เองด้วย  แล้วพวกเขาจะตระหนักด้วยตัวเองว่า  ชีวิตเป็นสิ่งยิ่งใหญ่เสียจริง  แล้วพวกเขาก็

                               จะเป็นมนุษย์   (กฤษณมูรติ.  2543: 97)


                               ในขณะที่กฤษณมูรตินิยามการศึกษาในมุมมองแบบมนุษยนิยม (Humanism)  จอห์น ดิวอี้

                   (John Dewey.  1859-1952) นักปรัชญาการศึกษาหนึ่งในผู้ให้ก าเนิดปรัชญาปฏิบัตินิยม (Pragmatism)
                   หรือประสบการณ์นิยม (Experimentalism) (Pragmatism.  2008) มองการศึกษาโดยให้คุณค่ากับการ

                   เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  การเรียนรู้ในโรงเรียนจึงต้องเชื่อมโยงกับโลกภายนอก  ต้องเป็นการเรียนรู้

                   ในชีวิตจริง  เพราะการศึกษาในทัศนะของดิวอี้เป็นกระบวนการของชีวิต (ในปัจจุบัน)  ไม่ใช่การเตรียมตัว
                   ส าหรับชีวิตในอนาคต (Education, therefore, is a process of living and not a preparation for

                   future living) (Dewey.  1974: 430)

                               นอกจากนั้นนักการศึกษาบางคนมองการศึกษาในความหมายกว้างหมายถึงประสบการณ์
                   ทั้งหมดของชีวิต  ตั้งแต่เกิดจนตาย  ขณะที่บางคนมองในความหมายแคบ หมายถึงกระบวนการที่สังคม

                   ถ่ายทอดวัฒนธรรม  ความรู้  ความช านาญ  ค่านิยมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งผ่านโรงเรียนและ

                   สถาบันทางสังคม โดยมีการเลือกสรรสิ่งที่จะถ่ายทอด (วิทย์ วิศทเวทย์.  2555: 15)  ซึ่งมีนัยถึงการมอง
                   การศึกษาในกรอบของระบบโรงเรียน  ดังเช่นความหมายของการศึกษาของนักการศึกษาบางคนที่กิติมา

                   ปรีดีดิลก  (2520: 69-72) รวบรวมไว้ในหนังสือปรัชญาการศึกษา (เล่ม 1): ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ

                   ปรัชญา ความตอนหนึ่งว่า “.....การศึกษาคือการสั่งสอนอบรมวิชาความรู้ เพื่อให้คน ๆ นั้นสามารถอยู่ใน
                   ชุมนุมชนได้อย่างมีความสุขเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ (สุดใจ เหล่าสุนทร.  ม.ป.ป.) หรือ การศึกษาคือ

                   กระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรม  ความรู้  ความคิดเห็นของมนุษย์รุ่นหนึ่งไปยังรุ่นหนึ่ง  (ดวงเดือน พันธุม

                   นาวิน.  2517).....”
                               นอกจากการศึกษาถูกนิยามในความหมายที่สอดคล้องกับความเชื่อและคุณค่าที่ยึดถือแล้ว

                   การศึกษายังถูกนิยามแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาหรือยุคสมัยอีกด้วย  เพราะมองว่าความหมายของ

                   การศึกษามีสัมพันธ์กับทัศนะในการมองความรู้และกระบวนการเรียนรู้  กล่าวคือ ก่อนช่วงเวลาที่
                   การศึกษาแบบใหม่หรือสมัยใหม่จะกลายเป็นการศึกษากระแสหลัก  การศึกษาหมายถึง กระบวนการ

                   เรียนรู้ที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิต  เมื่อเริ่มมีการจัดการศึกษาสมัยใหม่  การศึกษาหมายถึง การรู้หนังสือ  (อุษณีย์

                   ธโนศวรรย์.  (2545)
                               การศึกษาจึงมีความหมายที่หลากหลาย และไม่ได้มีความหมายที่ตายตัว  หากแต่มีการ

                   ปรับเปลี่ยนความหมายอยู่ตลอดเวลา  รายวิชานี้จึงให้ความส าคัญกับการท าความเข้าใจความหมายของ






                                                        เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 5
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16