Page 33 - ED 211
P. 33
ให้ผีปู่ย่ามีที่พักพิงด้วยการสร้างศาลไว้ที่บ้านเก๊าผี โดยทั่วไปชาวบ้านที่นับถือผีในตระกูลเดียวกันจะมา
เลี้ยงผีปู่ย่าที่บ้านเก๊าผีทุกปี นอกจากนั้นยังเลี้ยงผีปู่ย่าเมื่อแต่งงาน ในยามเจ็บป่วย หรือเมื่ออพยพออก
นอกหมู่บ้าน ชาวบ้านที่นับถือผีปู่ย่าเดียวกันนี้ถือว่าเป็นญาติพี่น้องเดียวกัน 2) ผีเสื้อบ้านหรือผีเจ้าที่
หมู่บ้าน นอกจากแต่ละตระกูลผีปู่ย่านับถือผีบรรพบุรุษของตนเองแล้ว ยังนับถือผีเสื้อบ้านร่วมกันด้วย
โดยทุกปีคนทั้งชุมชนจะร่วมกันเลี้ยงผีเสื้อบ้านร่วมกันที่ศาลผีเสื้อบ้าน 3) ผีโฮงหรือผีต าบล ชาวบ้านใน
ต าบลที่เป็นคนเมืองจะนับถือเจ้าพ่อสามองค์ คือ เจ้าพ่อปันมะหาด เจ้าปู่เหลืองและอ้ายเจ็ดเตี่ยว
ร่วมกัน โดยจะร่วมกันประกอบพิธีเลี้ยงเจ้าพ่อทุกปีด้วยไก่ ทุก 6 ปีด้วยหมูตัวผู้ 1 ตัว และทุก 32 ปี
ด้วยควายตัวผู้ 1 ตัว การเลี้ยงผีร่วมกันในระหว่างชาวบ้านที่เป็นคนเมืองนี้ ช่วยผลิตซ้ าอุดมการณ์ของ
ความเป็นพวกเดียวกัน 4) ผีในการท ามาหากิน ผีประเภทสุดท้ายที่คนในชุมชนนับถือ เป็นผีที่เกี่ยวข้อง
กับการท ามาหากิน ได้แก่ผีฝาย ผีน้ า ผีไฮ่ ผีสวน และผีห้วย ก่อนเริ่มฤดูกาลเพาะปลูก จะประกอบ
พิธีเลี้ยงผีที่นับถือ
ส่วนชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมสองฝั่งของแม่น้ ามูนนั้น พึ่งพาแม่น้ าสายนี้ในการด ารงชีวิต
เพราะแม้ชาวบ้านส่วนใหญ่ มีที่ดินท ากินและปลูกข้าวไว้บริโภคก็ตาม แต่ผลผลิตที่บางครอบครัวได้รับ
หลังเก็บเกี่ยวก็มักไม่พอกิน เนื่องจากที่ดินท ากินมีสภาพที่ไม่เหมาะสมในการเพาะปลูก และหลาย
หมู่บ้านไม่มีที่ดินท ากิน ดังนั้นแม่น้ ามูนจึงเป็นทั้งแหล่งอาหารโดยตรง แหล่งจับปลาเพื่อน ามาแลกข้าว
และแลกเกลือกับเพื่อนบ้านที่อยู่ห่างไกลออกไป รวมทั้งยังเป็นแหล่งเงินสดและเงินออมของครอบครัว
นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งน้ าเพื่ออุปโภคบริโภค เป็นเส้นทางคมนาคมที่ส าคัญ แหล่งประกอบพิธีกรรม
แหล่งพักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย ค ากล่าวที่ว่า“ถ้าบ่มีน้ า ละกะบ่มีคน กะบ่มีปลา”จึงเป็นค ากล่าวที่แสดง
ถึงความผูกพันอันลึกซึ้งระหว่างแม่น้ ามูนกับชาวบ้านริมสองฝั่งแม่น้ าได้เป็นอย่างดี ชีวิตของคนหาปลา
แห่งล าน้ าสายนี้จึงสัมพันธ์กับการเดินทางของปลา และวิถีแห่งการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ าที่เกิดขึ้นตาม
ฤดูกาล ฤดูฝนซึ่งชาวบ้านเรียกว่าหน้าปลาขึ้น เป็นช่วงเวลาที่คนหาปลาต่างตั้งตารอคอย เพราะเป็น
ช่วงเวลาที่จับปลาได้มากที่สุดในรอบปี ความชุกชุมของปลาในช่วงนี้ ซึ่งเป็นปลาที่โตเต็มที่ และปลา
หลายชนิดยังเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ ท าให้พรานปลาหลายคนสามารถหาปลาได้จ านวนมากจนน าไปแลก
ข้าวได้เต็มยุ้งจนเก็บไว้กินได้ตลอดทั้งปี ส่วนในช่วงปลายฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงหน้าปลาล่อง กระแสน้ าในล า
น้ ามูนลดความเชี่ยวกรากลง ชาวบ้านก็สามารถจับปลาได้มากเช่นเดียวกัน แม้ว่าส่วนใหญ่เป็นลูกปลาที่มี
ขนาดเล็ก ในช่วงระยะเวลาที่ปลาอพยพกลับจ านวนมากนั้น ชาวบ้านสามารถจับปลาได้จ านวนมาก ถึง
คราวละ 30-50 กิโลกรัมก็มี ปลาที่จับได้ในช่วงนี้ นอกจากน ามาเป็นอาหารประจ าวันของครอบครัว
แล้ว ส่วนหนึ่งน ามาตากแห้งเพื่อเก็บไว้บริโภคในช่วงฤดูท านา ปลาที่มีขนาดเล็กชาวบ้านมักน ามาท าปลา
ร้าหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าปลาแดก และปลาส้ม เพื่อเก็บไว้บริโภคเองหรือน าไปแลกข้าวแลกเกลือ บาง
ครอบครัวอาจท าปลาร้าเก็บไว้ถึง 30-40 ไห หากน าไปแลกข้าว ปลาร้า 1 ไห จะแลกข้าวได้ 10
หมื่นข้าวเปลือก (1 หมื่น = 12 กิโลกรัม) บางครอบครัวแลกข้าวได้ประมาณ 200 หมื่นข้าวเปลือก
เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 27