Page 80 - ทักษะการเรียนรู้ (ทร21001) ม.ต้น
P. 80
72
ความรู้ยุคที่ 2 เป็นความรู้ในคน หรืออยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างคน เป็นการ ค้นพบ
“ภูมิปัญญา” ที่อยู่ในตัวคน ทุกคนมีความรู้เพราะทุกคนท างาน ทุกคนมีสัมพันธ์กับผู้อื่น จึงย่อมมีความรู้ที่
ฝังลึกในตัวคนที่เกิดจากการท างาน และการมีความสัมพันธ์กันนั้น เรียกว่า “ความรู้อันเกิดจาก
ประสบการณ์” ซึ่งความรู้ยุคที่ 2 นี้ มีคุณประโยชน์ 2 ประการ คือ ประการแรก ท าให้เราเคารพซึ่งกันและ
กันว่าต่างก็มีความรู้ ประการที่ 2 ท าให้หน่วยงาน หรือองค์กรที่มีความเชื่อเช่นนี้ สามารถใช้ศักยภาพแฝง
ของทุกคนในองค์กรมาสร้างผลงาน สร้างนวัตกรรมให้กับองค์กร ท าให้องค์กรมีการพัฒนามากขึ้น
การจัดการความรู้
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หมายถึง การจัดการกับความรู้ และประสบการณ์
ที่มีอยู่ในตัวคน และความรู้เด่นชัด น ามาแบ่งปันให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และองค์กร ด้วยการ
ผสมผสานความสามารถของคนเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม มีเป้ าหมาย เพื่อการพัฒนางาน พัฒนาคน และ
พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ในปัจจุบันและในอนาคตโลกจะปรับตัวเข้าสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งความรู้กลายเป็น
ปัจจัยส าคัญในการพัฒนาคน ท าให้คนจ าเป็นต้องสามารถแสวงหาความรู้พัฒนา และสร้างองค์ความรู้
อย่างต่อเนื่อง เพื่อน าพาตนเองสู่ความส าเร็จ และน าพาประเทศชาติไปสู่การพัฒนา มีความเจริญก้าวหน้า
และสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
คนทุกคนมีการจัดการความรู้ในตนเองแต่ยังไม่เป็นระบบ การจัดการความรู้เกิดขึ้นได้ใน
ครอบครัวที่มีการเรียนรู้ตามอัธยาศัย พ่อแม่สอนลูก ปู่ย่า ตายาย ถ่ายทอดความรู้ และภูมิปัญญาให้แก่
ลูกหลานในครอบครัว ท ากันมาหลายชั่วอายุคน โดยใช้วิธีธรรมชาติ เช่น พูดคุย สั่งสอน จดจ า ไม่มี
กระบวนการที่เป็นระบบแต่อย่างใด วิธีการดังกล่าวถือเป็น การจัดการความรู้รูปแบบหนึ่ง แต่อย่างไรก็
ตาม โลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วในด้านต่าง ๆ การใช้วิธีการจัดการความรู้แบบ
ธรรมชาติ อาจก้าวตามโลกไม่ทัน จึงจ าเป็นต้องมีกระบวนการที่เป็นระบบ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถท า
ให้บุคคลได้ใช้ความรู้ตามที่ต้องการได้ทันเวลา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคนให้มีศักยภาพ โดยการสร้าง
และใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิม การจัดการความรู้หากไม่ปฏิบัติจะไม่
เข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ นั่นคือ “ไม่ท า ไม่รู้” การจัดการความรู้จึงเป็นกิจกรรมของนักปฏิบัติ
กระบวนการจัดการความรู้จึงมีลักษณะเป็นวงจรเรียนรู้ที่ต่อเนื่องสม ่าเสมอ เป้ าหมายคือการพัฒนางาน
และพัฒนาคน การจัดการความรู้ที่แท้จริงเป็นการจัดการความรู้โดยกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเป็นการด าเนิน
กิจกรรมร่วมกันในกลุ่มผู้ท างาน เพื่อช่วยกันดึง “ความรู้ในคน” และคว้าความรู้ภายนอกมาใช้ในการ
ท างาน ท าให้ได้รับความรู้มากขึ้น ซึ่งถือเป็นการยกระดับความรู้และน าความรู้ที่ได้รับการยกระดับไปใช้
ในการท างานเป็นวงจรต่อเนื่องไม่จบสิ้น การจัดการความรู้จึงต้องร่วมมือกันท าหลายคน ความคิดเห็นที่
แตกต่างในแต่ละบุคคลจะก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ด้วยการใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีปณิธาน