Page 2 - Drone Final Draft 1
P. 2
ที่มาและความส าคัญ
ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ จากการที่สัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุได้เพิ่มมากขึ้นกว่าร้อย
ละ 10 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา ในทศวรรษต่อมาจ านวนผู้สูงอายุได้มีอัตราเร่งในการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2557
ในสังคมไทย จ านวนประชากรสูงอายุจะมีจ านวนมากกว่าประชากรวัยเด็กและก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ และ
คาดการณ์ว่าประชากรวัยสูงอายุที่อายุถึง 80 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2583 การเพิ่มขึ้นของจ านวนผู้สูงอายุ
ั
รวมท้งอัตราการพึ่งพิงของผู้สูงอายุนั้นอาจส่งผลต่อการพัฒนาของสังคม แต่อย่างไรก็ตามแม้จะพบว่าผู้สูงอายุนั้นมีการเพิ่มขึ้นหรือ
ั
เป็นผู้พึ่งพิงทางสังคมมากขึ้น แต่ก็พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่น้นก็มีการพึ่งพาตนเองด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ในด้านเศรษฐกิจ พบว่า
ผู้สูงอายุ 16.13% ยังคงเป็นผู้สูงอายุที่ยากจน โดยผู้สูงอายุ 38.3% ยังคงท างาน แต่มีเพียง 18.5% เท่านั้นที่ต้องการท างานด้วยความ
สมัครใจ แสดงว่าผู้สูงอายุจ านวนมากต้องท างานเพราะความจ าเป็นในการหารายได้เพื่อใช้ด ารงชีวิต ขณะที่แรงงานนอกระบบส่วน
ใหญ่กว่า 24 ล้านคนไม่มีหลักประกันรายได้กรณีชราภาพ และมีผู้สูงอายุเพียง 35.7% ที่มีแหล่งรายได้จากเงินออมหรือการถือครอง
ทรัพย์สิน นอกจากนี้กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในด้านต่างๆ โดยเฉพาะหลักประกันรายได้ยามชราภาพ ซึ่งภาครัฐต้อง
ท างานอย่างหนักในการหามาตรการรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคที่ประชากรวัยท างานลดลง
เรื่อยๆ และการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ท างาน รวมถึงผลกระทบต่อครอบครัวในยุคสังคมสูงวัยที่ผู้สูงอายุอยู่คนเดียว หรือผู้สูงอายุอยู่
ล าพังสองคนจะใช้ชีวิตอย่างไร นอกจากนี้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มอายุยืนขึ้น แต่ก็มีโอกาสที่สุขภาพแย่ลง และต้องได้รับการดูแลยาวนาน
ขึ้นด้วย จากข้อมูล ท าให้เห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของสังคมสูงวัยที่ประเทศไทยก าลังเผชิญ สสส. หน่วยงาน
ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมต่าง ๆ จึงสนับสนุนและด าเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่
ดีและสามารถด าเนินชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี เป็นหลักชัยของครอบครัวและสังคม ผ่านแนวทางการส่งเสริมให้คนไทยเตรียมความพร้อม
ใน 3 มิติ (ฐานเศรษฐกิจ,2016)
นอกจากนี้นโยบายกระทรวงการคลังยังจะเสนอดูแลผู้มีรายได้น้อยผ่านโครงการรัฐสวัสดิการส่วนหนึ่งก็
โดยการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจจ้างงานกลุ่มผู้สูงอายุ ด้วยการให้สิทธิประโยชน์จูงใจ โดยให้สถานประกอบการ สามารถน า
รายได้มาหักภาษีได้ 2 เท่าตามนโยบายรัฐบาลในการดูแลสังคมผู้สูงอายุ และเพื่อให้มีมาตรการดูแลออกมาได้ต่อเนื่อง
แนวทางคือจะให้บริษัทเอกชนจ้างงานผู้มีอายุ ซึ่งเร็วสุดจะให้ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ โดยจะไม่ก าหนดเพดานการจ้างงานว่า
จะจ้างผู้สูงอายุสูงสุดได้ไม่เกินเท่าไหร่ แต่จะระบุเป็นปลายเปิดว่า ต้องเป็นผู้สูงอายุเริ่มที่ 60 ปีขึ้นไป โดยนับเอาจากวันเกิด
ตามหน้าบัตรประชาชน ซึ่งสถานประกอบการที่จ้างก็สามารถน าเอาค่าใช้จ่ายมาหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า (ประชาชาติ
ธุรกิจ, 2017) โดยที่จ านวนการจ้างงานนั้นจะต้องไม่เกิน 10% ของจ านวนแรงงานทั้งหมด อาทิจ านวนพนักงานทั้งบริษัทมี
200 คน จะจ้างผู้สูงวัยที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปได้ไม่เกิน 20 คน นอกจากนี้ยังก าหนดค่าจ้างที่จ้างผู้สูงอายุรวมกัน จะต้องไม่
เกิน 10 % ของรายจ่ายค่าจ้างในบริษัทนั้น ๆ
ดังนั้นการที่ผู้สูงอายุสามารถที่จะท างานที่เหมาะสมตามสภาพร่างกายเพื่อหารายได้เลี้ยงตนเองและ
ครอบครัวต่อไป จึงเป็นข้อดีที่จะท าให้สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องสังคมผู้สูงอายุให้ลดน้อยลง และยังท าให้ผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิต
หลังเกษียณรวมไปถึงผู้สูงอายุที่มีเวลาว่าง ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่สั่งสมมา ในการท างานต่อได้
ถึงแม้จะเกษียณแล้วก็ตาม เพื่อที่จะหารายได้เพื่อเลี้ยงตนเองต่อไปได้ รวมไปถึงการที่ผู้สูงอายุได้ใช้ศักยภาพในการ
ด ารงชีวิตอย่างมีคุณค่าไม่เป็นภาระแก่บุตรหลาน ด้วยเหตุผลดังกล่าว สมาชิกในกลุ่มจึงสนใจในการจัดท าแอพพลิเคชั่น
จัดหางานส าหรับผู้สูงอายุ ซึ่งจะท าให้การหางานส าหรับผู้สูงอายุนั้นมีความสะดวกรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น