Page 53 - สารพิษในชีวิตประจำวัน
P. 53

44

                                                            บทที่ 5

                                ผลกระทบที่มีต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไข

                         สารพิษ คือ สารเคมีหรือวัตถุที่เข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่ทําปฏิกิริยาต่อโครงสร้างและหน้าที่ของ
                  ร่างกาย จนทําให้เกิดอันตรายต่อชีวิต อันตรายที่เกิดขึ้นอาจมากหรือน้อยข้นกับชนิด ปริมาณและวิถีทางที่

                  ได้รับสารพิษนั้น


                         อันตรายจากการใช้สารพิษ
                                การใช้สารพิษอย่างไม่ถูกต้องมีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ดังนี้ คือ



                                1.  เกิดอันตรายต่อผู้ใช้โดยตรง ซึ่งได้แก่ เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับ
                  การใช้สารพิษและประชาชนทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้เนื่องมาจากขากความรู้ความเข้าใจในการใช้และการป้องกัน
                  อันตรายจากสารพิษอย่างถูกต้องจึงทําให้เกิดอุบัติเหตุก่อให้เกิดอันตรายหรือเจ็บป่วยถึงชีวิตได้ในทันที หรือ
                  สะสมสารพิษในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทําให้สุขภาพทรุดโทรม เกิดโรคภัยร้ายแรงขึ้นได้ภายหลัง



                                2.  เกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณ
                  ใกล้เคียงกับแหล่งที่มีการใช้สารพิษทั้งนี้เนื่องจากสารพิษที่ใช้หรือที่เกิดจากกระบวนการผลิตถูกปลดออกสู่
                  สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ในปริมาณสูง จนอาจเกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณรอบ ๆ ซึ่งต้องรับสารพิษเข้าไป
                  อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


                                3.  ก่อให้เกิดสภาวะสมดุลตามธรรมชาติเสียไปเนื่องจากศัตรูธรรมชาติ เช่น ตัวห้ํา ตัวเบียนที่มี

                  ประโยชน์ในการป้องกันกําจัดศัตรูพืช ศัตรูมนุษย์และสัตว์ ถูกสารพิษทําลายไปหมด แต่ขณะเดียวกันศัตรูที่เป็น
                  ปัญหาโดยเฉพาะพวกแมลงศัตรูพืชสามารถสร้างความต้านทานพิษได้ ทําให้เกิดปัญหาการระบาดเพิ่มมากขึ้น
                  หรือศัตรูที่ไม่เคยระบาดก็เกิดปัญหาขึ้นมา เป็นปัญหาในการป้องกันกําจัดมากขึ้น


                                4. เกิดอันตรายต่อชีวิตของนก ปลา สัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ แมลงที่มีประโยชน์ เช่น ผึ้ง พบว่ามี
                  ปริมาณลดน้อยลง จนบางชนิดเกือบสูญพันธุ์ทั้งนี้ เนื่องจากถูกทําลายโดยสารพิษที่ได้รับเข้าไปทันที หรือ

                  สารพิษที่สะสมในร่างกายของสัตว์เหล่านั้นผลให้เกิดความล้มเหลวในการแพร่ขยายพันธุ์


                                5. อันตรายแก่สิ่งมีชีวิตและมนุษย์ในระยะยาว เนื่องจากการได้รับสารพิษซึ่งแพร่กระจาย
                  ตกค้างอยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อมเข้าไปสะสมร่างกายทีละน้อย จนทําให้ระบบและวงจรการทํางานของ
                  ร่างกายผิดปกติเป็นเหตุให้เกิดโรคอันตรายขึ้น หรือบางครั้งอาจทําให้เกิดการกลายพันธุ์ หรือเกิดความผิดปกติ

                  ในรุ่นหลายขึ้นได้


                                6. เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจขึ้นกับประเทศชาติเนื่องจากการเจ็บไข้ได้ป่วยของประชาชน
                  ทําให้ไม่สามารถทํางานได้เต็มที่และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีปัญหาไม่
                  สามารถส่งอาหารผลิตภัณฑ์การเกษตรออกไปจําหน่ายยังต่างประเทศได้ เนื่องจากมีสารพิษตกค้างอยู่ใน
                  ปริมาณสูงเกินปริมาณที่กําหนดไว้ ทําให้ขาดรายได้ที่จะนํามาพัฒนาประเทศต่อไป
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58