Page 54 - สารพิษในชีวิตประจำวัน
P. 54

45

                                7.  เกิดความเสียหายต่อสุขภาพของสิ่งแวดล้อมที่ดี ปริมาณสารพิษที่ถูกปลดปล่อยและตกค้าง
                  อยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น สารพิษโลหะหนักในแหล่งน้ํา หรือก๊าซพิษที่ผสมอยู่ในบรรยากาศทําให้คุณภาพของ

                  สิ่งแวดล้อมเสียหายไม่เหมาะสมต่อการดํารงชีพของสิงมีชีวิต

                         แหล่งกําเนิดของสารพิษ
                         1. แหล่งกําเนิดตามธรรมชาติ
                         สารพิษที่กําเนิดตามธรรมชาติ อันได้แก่ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ทําให้เกิดสารพิษได้เช่น การ

                  ระเบิดของภูเขาไฟจะก่อให้เกิดผงฝุ่นและก๊าซพิษชนิดต่างๆ เข้าสู่บรรยากาศโลกนอกจากปรากฏการณ์
                  ธรรมชาติแล้ว สารพิษอาจเกิดขึ้นในรูปแร่ธาตุต่าง ๆ เช่นกํามะถัน ตะกั่ว ปรอท สารหนู แคเมี่ยมและรังสีใน
                  อากาศ เรดิโอไอโซโทป เป็นต้น

                         2. แหล่งกําเนิดจากการสังเคราะห์ของมนุษย์
                         การกําเนิดสารพิษชนิดนี้ นับเป็นแหล่งที่สําคัญที่สุดเพราะสารเคมีหรือสารพิษที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมานั้น
                  เกี่ยวข้องกับการดํารงชีวิตประจําวันของมนุษย์ในด้านต่างๆ  เช่น สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกําจัดศัตรูพืชและ

                  สัตว์ สารประกอบในอาหาร ยารักษาโรค เครื่องสําอาง  และสารพิษที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังขบวนการผลิตทาง

                  อุตสาหกรรมได้แก่ ก๊าซพิษ ฝุ่นหรือผงจากโลหะหนักรวมทั้งกากสารพิษจากอุตสาหกรรม เป็นต้น


                         3. แหล่งกําเนิดจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
                                สารพิษสามารถเกิดขึ้นได้จากการสังเคราะห์ โดยพืชสัตว์ และจุลินทรีย์ ชนิดต่างๆนั้นให้ปรากฏขึ้น

                  ได้นอกจากนี้ยังทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น ทําให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เกิดโรคกระเพาะ
                  โรคหัวใจ เกิดภาวะ ตึงเครียดทําให้ชีพจรเต้นผิดปกติ เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและอาจทําให้เกิดอาการหด

                  ตัวของหลอดเลือดเล็กๆ เช่น ที่มือและเท้าได้


                  คําแนะนําการป้องกันอันตรายจากสารพิษสําหรับผู้ปฏิบัติงาน
                            1.  พยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเป็นพิษเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ
                            2.  ควรศึกษาให้เข้าใจถึงอันตรายและวิธีการใช้สารเคมีแต่ละชนิด
                            3.  ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อการป้องกันอันตรายขณะที่มีการทํางานหรือเกี่ยวข้องกับสารเคมี

                            4.  ควรมีการตรวจสุขภาพ  สําหรับผู้ที่ทํางานเกี่ยวข้องกับสารเคมีอย่างน้อยปีละครั้ง
                            5.  หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้บริเวณที่มีการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันสารเป็นพิษเข้าสู่ร่างกายทาง
                  ปาก จมูก และผิวหนัง

                            6.  เมื่อมีการใช้สารเคมี  ควรอ่านฉลากกํากับโดยตลอดให้เข้าใจก่อนใช้ และต้องปฏิบัติตามคํา
                  เตือนและข้อควรระวังโดยเคร่งครัด
                            7.  อย่าล้างภาชนะบรรจุสารเคมีหรืออุปกรณ์เครื่องพ่นยาลงไปในแม่น้ํา ลําธาร บ่อ คลอง ฯลฯ
                            8.  ภาชนะบรรจุสารเคมีเมื่อใช้หมดแล้วให้ทําลายและฝังดินเสีย
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59