Page 180 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 180

179




                     เรื่องที่  1 สมบัติของสาร และเกณฑ์ในการจ าแนกสาร

                            สมบัติของสาร  หมายถึง  ลักษณะเฉพาะตัวของสาร เช่น เนื้อสาร สี กลิ่น รส การน าไฟฟ้ า  การ
                     ละลายน ้า จุดเดือด จุดหลอมเหลว  ความเป็นกรด –  เบส  เป็นต้น สารแต่ละชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวที่

                     แตกต่างกัน  แบ่งเป็น  2  ประเภทคือ

                            1.  สมบัติทางกายภาพของสาร  เป็นสมบัติของสารที่สามารถสังเกตได้ง่าย  เพื่อบอกลักษณะของ

                     สารอย่างคร่าว ๆ ได้แก่  สถานะ  ความแข็ง   ความอ่อน  สี  กลิ่น  ลักษณะผลึก  ความหนาแน่นหรือเป็น
                     สมบัติที่อาจตรวจสอบได้โดยท าการทดลองอย่างง่าย ๆ ได้แก่  การละลายน ้า การหาจุดเดือด การหาจุด

                     หลอมเหลว  หรือจุดเยือกแข็ง  การน าไฟฟ้า  การหาความถ่วงจ าเพาะ  การหาความร้อนแฝง

                            2.  สมบัติทางเคมี หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น การ

                     เกิดสารใหม่ การสลายตัวให้ได้สารใหม่ การเผาไหม้ การระเบิด และการเกิดสนิมของโลหะ เป็นต้น
                            เกณฑ์ในการจ าแนกสาร

                            ในการศึกษาเรื่องสาร จ าเป็นต้องแบ่งสารออกเป็นหมวดหมู่  เพื่อให้ง่ายต่อการจดจ าสาร

                     โดยทั่วไปนิยมใช้สมบัติทางกายภาพด้านใดด้านหนึ่งของสารเป็นเกณฑ์ในการจ าแนกสารซึ่งมีหลายเกณฑ์

                     ด้วยกัน เช่น
                            1.ใช้สถานะเป็นเกณฑ์  จะแบ่งสารออกได้เป็น 3  กลุ่ม คือ

                                  1.1  ของแข็ง (  solid  )    หมายถึงสารที่มีลักษณะรูปร่างไม่เปลี่ยนแปลง และมีรูปร่าง

                     เฉพาะตัว  เนื่องจากอนุภาคในของแข็งจัดเรียงชิดติดกันและอัดแน่นอย่างมีระเบียบไม่มีการเคลื่อนที่หรือ

                     เคลื่อนที่ได้   น้อยมาก ไม่สามารถทะลุผ่านได้และไม่สามารถบีบหรือท าให้เล็กลงได้  เช่น  ไม้  หิน
                     เหล็ก  ทองค า  ดิน      ทราย  พลาสติก  กระดาษ  เป็นต้น

                                  1.2  ของเหลว (  liquid  )    หมายถึงสารที่มีลักษณะไหลได้  มีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ

                     เนื่องจากอนุภาคในของเหลวอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง  อนุภาคไม่ยึดติดกันจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ใน
                     ระยะใกล้ และมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน มีปริมาตรคงที่  สามารถทะลุผ่านได้  เช่น  น ้า  แอลกอฮอล์ น ้ามัน

                     พืช  น ้ามันเบนซิน  เป็นต้น

                                  1.3 แก๊ส  ( gas ) หมายถึงสารที่ลักษณะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ  เนื่องจากอนุภาคของ
                     แก๊สอยู่ห่างกันมาก  มีพลังงานในการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไปได้ในทุกทิศทางตลอดเวลา  จึงมีแรงดึงดูด

                     ระหว่างอนุภาคน้อยมาก สามารถทะลุผ่านได้ง่าย  และบีบอัดให้เล็กลงได้ง่าย  เช่น  อากาศ  แก๊สออกซิเจน

                     แก๊สหุงต้ม  เป็นต้น
                            2.ใช้ความเป็นโลหะเป็นเกณฑ์  แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

                                   2.1 โลหะ ( metal)

                                   2.2 อโลหะ ( non-metal )

                                   2.3 กึ่งโลหะ ( metaliod )
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185