Page 23 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 23

22




                            เทคโนโลยีก่อเกิดผลกระทบต่อสังคมและพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ
                     เทคโนโลยีได้ช่วยให้สังคมหลาย ๆ แห่งเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกใน

                     ปัจจุบัน ในหลาย ๆ ขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้เกิดผลผลิตที่ไม่ต้องการ หรือ

                     เรียกว่ามลภาวะ เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการท าลายสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหลาย ๆ

                     อย่างที่ถูกน ามาใช้มีผลต่อค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้ง
                     ค าถามทางจริยธรรม

                     เทคโนโลยีที่เหมาะสม

                                  ค าว่าเทคโนโลยีที่เหมาะสม  หมายความถึงเหมาะสมต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความ
                     ต้องการของประเทศ เทคโนโลยีบางเรื่องเหมาะสมกับบางประเทศ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะของแต่ละ

                     ประเทศ

                            1. ความจ าเป็นที่น าเทคโนโลยีมาใช้ในประเทศไทย ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร รายได้
                     จากผลผลิตทางการเกษตรมีมากกว่ารายได้อย่างอื่น และประมาณร้อยละ 80 ของประชากรอาศัยอยู่ใน

                     ชนบท ดังนั้นการน าเทคโนโลยีมาใช้จึงเป็นเรื่องจ าเป็น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางการเกษตร

                     สินค้าทางการเกษตร ส่วนใหญ่ส่งออกจ าหน่ายต่างประเทศในลักษณะวัตถุดิบ เช่น การขายเมล็ดโกโก้

                     ให้ต่างประเทศแล้วน าไปผลิตเป็นช็อคโกแลต หากตั้งโรงงานในประเทศไทยต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามามี
                     บทบาทในการพัฒนาการแปรรูป

                            2. เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีผู้รู้หลายท่านได้ตีความหมายของค าว่า “เหมาะสม” ว่าเหมาะสมกับ

                     อะไรต่อเศรษฐกิจระยะเวลาหรือระดับเทคโนโลยีที่เหมาะสม เทคโนโลยีที่สามารถน ามาใช้ให้เกิด
                     ประโยชน์ต่อการด าเนินกิจการต่าง ๆ  และสอดคล้องกับความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์

                     สภาพแวดล้อม วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม และก าลังเศรษฐกิจของคนทั่วไป

                     เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

                            1. การตัดต่อยีน (genetic engineering) เทคโนโลยีดีเอ็นเอสายผสม (recombinant DNA) และ
                     เทคโนโลยีโมเลกุลเครื่องหมาย (molecular markers)

                            2. การเพาะเลี้ยงเซลล์ และ/หรือ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (cell and tissue culturing) พืช และสัตว์

                            3. การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์บางชนิดหรือใช้ประโยชน์จากเอนไซน์ของจุลินทรีย์
                     เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ได้แก่การพัฒนาการเกษตร ด้านพืช และสัตว์ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ

                            1.  การปรับปรุงพันธุ์พืชและการผลิตพืชพันธุ์ใหม่ (crop improvement) เช่น พืชไร่ พืชผัก ไม้ดอก

                            2.  การผลิตพืชพันธุ์ดีให้ได้ปริมาณมาก ๆ ในระยะเวลาอันสั้ น ในระยะเวลาอันสั้ น
                       (micropropaagation)

                            3. การผสมพันธุ์สัตว์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (breeding and upgrading of  livestocks)

                            4. การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี (biological pest control) และจุลินทรีย์ที่ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28