Page 24 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 24
23
5. การปรับปรุงขบวนการการผลิตอาหารให้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
6. การริเริ่มค้นคว้าหาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ (search for utilization of unused
resources) และการสร้างทรัพยากรใหม่
เรื่องที่ 3 วัสดุและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ คือเครื่องมือที่ใช้ทั้งภายในและภายนอกห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ทดลองและหา
ค าตอบต่างๆทางวิทยาศาสตร์
ประเภทของเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
1. ประเภททั่วไป เช่น บีกเกอร์ หลอดทดสอบ ไพเพท บิวเรต กระบอกตวง หลอดหยดสาร
แท่งแก้วคนสาร ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ผลิตขึ้นจากวัสดุที่เป็นแก้ว เนื่องจากป้ องกันการท าปฏิกิริยากับ
สารเคมี นอกจากนี้ยังมี เครื่องชั่งแบบต่างๆ กล้องจุลทรรศน์ ตะเกียงแอลกอฮอล์เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์
เหล่านี้วิธีใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ตามลักษณะของงาน
2. ประเภทเครื่องมือช่าง เป็ นอุปกรณ์ที่ใช้ได้ทั้งภายในห้องปฏิบัติการ และภายนอก
ห้องปฏิบัติการ เช่น เวอร์เนีย คีม และแปลง เป็นต้น
3. ประเภทสิ้นเปลือง และสารเคมี เป็นอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้แล้วหมดไปไม่สามารถน า
กลับมาใช้ได้อีก เช่น กระดาษกรอง กระดาษลิตมัส และสารเคมี
การใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ประเภทต่างๆ
1.การใช้งานอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ประเภททั่วไป
บีกเกอร์(BEAKER)
บีกเกอร์มีหลายขนาดและมีความจุต่างกัน โดยที่ข้างบีกเกอร์จะมีตัวเลขระบุความจุของบีกเกอร์
ท าให้ผู้ใช้สามารถทราบปริมาตรของของเหลวที่บรรจุอยู่ได้อย่างคร่าวๆ และบีกเกอร์มีความจุตั้งแต่ 5
มิลลิเมตรจนถึงหลายๆลิตร อีกทั้งเป็นแบบสูง แบบเตี้ย และแบบรูปทรงกรวย (conical beaker) บีกเกอร์
จะมีปากงอเหมือนปากนกซึ่งเรียกว่า spout ท าให้การเทของเหลวออกได้โดยสะดวก spout ท าให้
สะดวกในการวางไม้แก้วซึ่งยื่นออกมาจากฝาที่ปิดบีกเกอร์ และ spout ยังเป็นทางออกของไอน ้าหรือ
แก๊สเมื่อท าการระเหยของเหลวในบีกเกอร์ที่ปิดด้วยกระจกนาฬิกา (watch grass)
การเลือกขนาดของบีกเกอร์เพื่อใส่ของเหลวนั้น
ขึ้นอยู่กับปริมาณของเหลวที่จะใส่ โดยปกติให้ระดับ
ของเหลวอยู่ต ่ากว่าปากบีกเกอร์ประมาณ 1 - 1 1/2 นิ้ว