Page 272 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 272

271




                     3.3 การต่อความต้านทานแบบต่าง ๆ

                              การต่อความต้านทาน  หมายถึง  การน าเอาความต้านทานหลายๆ  ตัวมาต่อรวมกันในระหว่างจุด
                     สองจุดซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงการต่อความต้านทานในลักษณะ  ต่างๆ  กันโดยตั้งแต่การต่อความ

                     ต้านทานแบบอนุกรม   การต่อความต้านทานแบบขนานและการต่อความต้านทานแบบผสม นอกจากนี้

                     ลักษณะของตัวอย่างต่าง ๆ ที่เราจะพบใน  บทนี้นั้นส่วนใหญ่แล้วจะแนะน าถึงวิธีการพิจารณาและ
                     วิธีการค านวณที่ง่าย ๆ เพื่อให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะกระท าได้ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นแนวทางในการน าไปใช้

                     ในการค านวณเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าที่ประกอบด้วยความต้านทานหลาย ๆ    ตัวที่ต่อกันในลักษณะยุ่งยาก

                     และซับซ้อนได้อย่างถูกต้องรวดเร็วและมีความมั่นใจในการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้ าโดยทั่วๆ
                     ไป



                     การต่อความต้านทานแบบอนุกรม

                              การต่อความต้านทานแบบอนุกรม หมายถึง   การน าเอาความต้านทานมาต่อเรียงกันโดยให้ ปลาย
                     สายของความต้านทานตัวที่สองต่อเชื่อมกับปลายของความต้านทานตัวที่สาม ถ้าหากว่ามีความต้านทาน

                     ตัวที่สี่หรือตัวต่อ ๆ ไป  ก็น ามาต่อเรียงกันไปเรื่อย ๆ   เป็นลักษณะในแบบลูกโซ่ซึ่งเราสามารถที่จะ

                     เข้าใจได้ง่าย  โดยการพิจารณาจาก











                                                                       รูปการต่อความต้านทานแบบอนุกรม


                     จากรูปการต่อความต้านทานแบบอนุกรม  จะได้

                                                                 Rt = R1 + R2 + R3

                         ในที่นี้
                                                                 Rt = ความต้านทานรวมหรือความต้านทานทั้งหมด

                                                      R1 , R2 , R3 = ความต้านทานย่อย
   267   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277