Page 273 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 273
272
การต่อความต้านทานแบบขนาน
การต่อความต้านทานแบบขนาน หมายถึง การน าเอาความต้านทานหลาย ๆ ตัวมาต่อเชื่อมกันให้
อยู่ในระหว่างจุด 2 จุด โดยให้ปลายด้านหนึ่งของความต้านทานทุก ๆ ตัวมาต่อรวมกันที่จุด ๆ หนึ่ง
และให้ปลายอีกด้านหนึ่งของความต้านทานทุก ๆ ตัวมาต่อรวมกันอีกที่จุดหนึ่ง ๆ ซึ่งพิจารณาได้อย่าง
ชัดเจนจาก รูปการต่อความต้านทานแบบขนาน
รูปการต่อความต้านทานแบบขนาน
จากรูปการต่อความต้านทานแบบขนานจะได้
1/Rt = (1/R1+1/R2+1/R3)
= (R2R3+R1R3+R1R2)/(R1R2R3)
ดังนั้น Rt = (R1R2R3)/(R2R3+R1R3+R1R2)
ในที่นี้ Rt = ความต้านทานรวม หรือความต้านทานทั้งหมด R1,R2,R3 = ความต้านทานย่อย
ข้อสังเกต เมื่อความต้านทาน 2 ตัวต่อขนานกันและมีค่าเท่ากันการค านวณหาค่าความต้านทาน
รวมให้ใช้ค่าความต้านทานตัวใดตัวหนึ่งเป็นตัวตั้ง(เพราะมีค่าเท่ากัน)แล้วหารด้วยจ านวนของความ
ต้านทานคือ 2 ในลักษณะท านองเดียวกัน ถ้าหากว่ามีความต้านทานทั้งหมด n ตัวต่อขนานกันและแต่
ละตัวมีค่าเท่า ๆ กันแล้วเมื่อค านวณหาค่าความต้านทานรวม ก็ให้ใช้ค่าของความต้านทานตัวใดตัวหนึ่ง
เป็นตัวตั้งแล้วหารด้วยจ านวนของตัวต้านทาน คือ n
วงจรแบบผสม
วงจรไฟฟ้าแบบผสม คือวงจรที่ประกอบด้วยวงจรอนุกรม ( Series Circuit )และวงจรขนาน
( Parallel Circuit ) ย่อยๆ อยู่ในวงจรใหญ่เดียวกัน ดังนั้นในการค านวณเพื่อวิเคราะห์หาค่าปริมาณทาง
ไฟฟ้ าต่างๆ เช่น กระแสไฟฟ้ า ( Current ) แรงดันไฟฟ้า ( Voltage ) และค่าความต้านทานรวม จึงต้อง
ใช้ความรู้จากวงจรไฟฟ้ าแบบอนุกรม วงจรไฟฟ้ าแบบขนาน และกฎของโอห์ม ( Ohm’s Law )
วงจรไฟฟ้าแบบผสม โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ แบบอนุกรม – ขนาน (Series -Parallel) และแบบ
ขนาน – อนุกรม (Parallel – Series ) ดังรูป วงจรไฟฟ้ากระแสตรงแบบผสม (อนุกรม – ขนาน)