Page 281 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 281

280




                     อาจจะเกิดขึ้นได้ กระแสไฟฟ้ ารั่ว และการเกิดกระแสไฟฟ้ าลัดวงจร (short circuit) นั้น ไม่มีผู้ใดทราบ
                     ล่วงหน้าได้ จึงจ าเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้เป็นเครื่องบอกเหตุต่าง ๆ ไว้ และท าการตัดวงจรไฟฟ้ า

                     ก่อนที่จะเป็นอันตราย วิศวกรคิดวิธีป้ องกันไฟฟ้ารั่วไว้ 2 วิธี คือ

                          วิธีที่ 1 คือ การต่อสายดิน

                            เมื่อกระแสไฟฟ้ ารั่วไหลลงดินมีปริมาณมากพอ ท าให้เครื่องตัดวงจรท างานตัดวงจร
                     กระแสไฟฟ้าในวงจรนั้นออกไป ท าให้ไม่มีกระแสไฟฟ้า

                          วิธีที่ 2 ใช้เครื่องป้ องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว

                                      โดยอาศัยหลักการของการเหนี่ยวน าไฟฟ้ าในหม้อแปลงไฟฟ้าในสภาวะปกติกระแสไฟฟ้ า
                     ไหลเข้า และไหลออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้ าในวงจรเท่ากัน เส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้นในแกนเหล็กจาก

                     ขดลวดปฐมภูมิทั้งสองขดเท่ากัน จึงหักล้างกันหมด กระแสไฟฟ้ าในขดลวดทุติยภูมิไม่มี เมื่อ

                     กระแสไฟฟ้ ารั่วเกิดขึ้น สายไฟฟ้ าทั้งสองมีกระแสไหลไม่เท่ากัน ท าให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กในแกน
                     เหล็กเหนี่ยวน าไฟฟ้าขึ้นในขดลวดทุติยภูมิส่งสัญญาณไปท าให้ตัดวงจรไฟฟ้าออก

                                    ผู้ประสบอันตรายจากกระแสไฟฟ้ าจะเกิดอาการสิ้นสติ (shock)  ผู้ที่อยู่ข้างเคียงหรือผู้ที่พบ

                     เหตุการณ์จะต้องรีบช่วยเหลืออย่างถูกวิธี ดังนี้
                                  ขั้นแรก ตัดวงจรกระแสไฟฟ้าออกโดยเร็ว ขั้นสองแยกผู้ป่วยออกด้วยการใช้ฉนวน เช่น สายยาง

                     ผ้าแห้ง หรือกิ่งไม้แห้งคล้องดึงผู้ป่วยออกจากสายไฟ ห้ามใช้มือจับโดยเด็ดขาด ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจให้รีบ

                     ช่วยหายใจด้วยการจับผู้ป่วยนอนราบไปกับพื้น ยกศีรษะให้หงายขึ้นเล็กน้อยบีบจมูก พร้อมเป่าลมเข้า

                     ปากเป็นระยะๆ โดยเป่าให้แรงและเร็ว ประมาณนาทีละ 10 ครั้ง จนเห็นทรวงอกกระเพื่อม ท าต่อไป
                     เรื่อยๆแล้วรีบน าส่งโรงพยาบาล ท าการพยาบาลโดยการให้ออกซิเจนช่วยในการหายใจ และนวดหัวใจ

                     ด้วย

                     3.6 การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้ า

                        การอนุรักษ์พลังงาน

                              ความหมายของการอนุรักษ์พลังงาน    คือการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

                     และประหยัด การอนุรักษ์พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัด
                     ค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิตพลังงานด้วย

                               การอนุรักษ์พลังงาน คืออะไร   การอนุรักษ์พลังงาน เป็นวัตถุประสงค์หลักภายใต้

                     พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 ที่ก าหนดให้กลุ่มเป้ าหมายคือ อาคารควบคุม

                     และโรงงานควบคุม ต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ข้อมูล บุคลากร แผนงาน เป็นต้น เพื่อน าไปสู่
                     การอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายและกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานนี้ยังใช้เป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติ

                     ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้ดียิ่งขึ้น
   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285   286